http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,969
เปิดเพจ51,966
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านนาคำ ม.5 ต.ผึ่งแดด

 

หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต 

บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

ส่วนที่ ๑  ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติหมู่บ้าน

บ้านาคำได้แยกตัวออกจากบ้านตากแดด เมื่อปี พ.ศ. 2384  ก่อตั้งหมู่บ้าน พร้อมกับตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า  บ้านนาคำ  ที่ใช้ชื่อว่า “นาคำ” เพราะว่าพื้นที่ตั้งหมู่บ้านเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งมีผู้นำตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน คือ นายเซียงน้อย สุพร จนถึงปัจจุบัน คือ นายสมยศ สุพร

ที่ตั้ง

           บ้านนาคำ มีพื้นที่เป็นที่ราบครัวเรือนตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มห่างจากเทศบาลตำบลผึ่งแดดไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตรบนถนนสายโนนตูม-ดงหลวง และห่างจากอำเภอเมืองมุกดาหาร ๒๘  กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ๓๒ กิโลเมตร

อาณาเขต

        ทิศเหนือติดต่อ  บ้านหนองแล้ง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลผึ่งแดด

        ทิศใต้ติดต่อ  บ้านนาคำ หมู่ที่ ๕ ตำบลผึ่งแดด

        ทิศตะวันตกติดต่อ  บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านโคก

        ทิศตะวันออกติดต่อ  บ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑,๒ – ตำบลผึ่งแดด

ข้อมูลด้านประชากร

         มีประชากรอาศัยอยู่จริง จำนวน ๗๖ ครัวเรือน แยกเป็นชาย ๑๘๑ คน   หญิง ๑๘๘ คน รวม ๓๖๙ คน

แยกประชากรตามช่วงอายุจากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.๒) ปี ๒๕๕๙

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย(คน)

จำนวนเพศหญิง(คน)

จำนวนรวม(คน)

น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม

๑ ปีเต็ม - ๒ ปี

๓ ปีเต็ม - ๕ ปี

๖ ปีเต็ม - ๑๑ ปี

๒๑

๑๓

๓๔

๑๒ ปีเต็ม - ๑๔ ปี

๑๕ ปีเต็ม - ๑๗ ปี

๑๘

๒๖

๑๘ ปีเต็ม - ๒๕ ปี

๑๗

๑๖

๓๓

๒๖ ปีเต็ม - ๔๙ ปีเต็ม

๘๓

๗๘

๑๖๑

๕๐ ปีเต็ม - ๖๐ ปีเต็ม

๒๑

๑๙

๔๐

มากกว่า ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป

๒๕

๓๔

๕๙

รวมทั้งหมด

๑๘๑

๑๘๘

๓๖๙

 

ด้านสังคม การเมือง การปกครอง

         บ้านนาคำ เป็นสังคมของชาวไทยอิสาน มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีความเอื้ออารีต่อกัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันเสมือนพี่น้องร่วมสายโลหิต มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองส่วนมากจะซึมซับเอาวัฒนธรรมที่ดีของหมู่บ้านไปใช้ในการปฏิบัติตนให้เข้ากับชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยมีการแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  จำนวน ๒  คุ้ม ได้แก่ คุ้มหนองหอ คุ้มบ้านเหนือ

ด้านเศรษฐกิจ

          ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ ๕๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา สวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ มีครอบครัวที่มีรายได้ประจำเช่นรับราชการ รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ที่มีอาชีพเสริมด้านการเกษตร เพราะพื้นที่หมู่บ้านเหมาะสมกับการทำการเกษตร แต่มีปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตรเนื่องจากไม่มีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่  รายได้ทั้งหมดของหมู่บ้าน จำนวน ๒๕,๔๓๓,๐๐๐ บาท เฉลี่ย ๖๘,๙๒๔ บาท/คน/ปี มีรายจ่ายทั้งหมดของหมู่บ้าน จำนวน ๒๑,๓๔๐,๐๐๐ บาท เฉลี่ย ๕๗,๘๓๒ บาท/คน เงินออมจากบัญชีครัวเรือน ๑,๑๓๑,๘๖๑ บาท

  

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันสำรวจ จำแนกตามอาชีพ

จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.2)

อาชีพ

จำนวนเพศชาย(คน)

จำนวนเพศหญิง(คน)

จำนวนรวม(คน)

ไม่มีอาชีพ

กำลังศึกษา

๓๕

๔๒

๗๗

นักศึกษา

-

-

-

เกษตรกรรทำนา

๙๒

๙๕

๑๘๗

ทำไร่

-

ทำสวน

-

-

-

ประมง

-

-

-

ปศุสัตว์

-

-

-

รับราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

-

-

-

พนักงานบริษัท

รับจ้างทั่วไป

๔๓

๓๓

๗๖

ค้าขาย

-

ธุรกิจส่วนตัว

อื่นๆ หรือไม่ระบุ

รวมทั้งหมด

๑๘๑

๑๘๘

๓๖๙

 

สิ่งแวดล้อม

                 บ้านนาคำ เป็นบ้านแฝดหมู่ที่ ๕,๖ มีน้ำซับรอบหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ดอนถ้าปีใดฝนชุกน้ำจะท่วม ไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  มีหนองน้ำที่ใช้สำหรับเก็บน้ำใช้ในฤดูแล้งคือ หนองวัด ทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่ มีป่าที่ชาวบ้านช่วยกันร่วมรักษาไว้เป็นป่าช้าและบริเวณวัดป่านาคำ

ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี

               บ้านนาคำเป็นหมู่บ้านชาวไทยอิสาน ที่ยังยึดถือวัฒนธรรมแบบอิสานดั้งเดิม คือยังรักษา “ฮีตสิบสองครองสิบสี่”  นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองหลายอย่าง มีสัญลักษณ์ของ  ความเป็นชาวไทยอิสาน คือ

       - มีสำเนียง ภาษาเป็นของตนเอง

       - การแต่งกายผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นสีดำผู้ชายใช้ชุดเสื้อม่อฮ่อม นิยมแต่งในงานประเพณีต่างๆ

       - มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างประหยัดและพอเพียง อาหารส่วนมากจะเป็นผักพื้นบ้าน ปลอดสารพิษ ปลูกถั่วลิสง ปลูกหอมกระเทียมเก็บไว้กินในฤดูฝน มีผักสวนครัว รั้วกินได้ตลอดปี

การศึกษา

                มีโรงเรียนประถม ๑ แห่ง คือโรงเรียนไตรมิตรวิทยา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกาญจนประดิษฐ์ และศูนย์การเรียนชุมชนตำบลผึ่งแดด

ประชากรตามระดับการศึกษาจากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.๒) ปี ๒๕๕๙

การศึกษา

จำนวนเพศชาย(คน)

จำนวนเพศหญิง(คน)

จำนวนรวม(คน)

 

ไม่เคยศึกษา

๑๐

 

อนุบาล/ศูนย์เด็กเล็ก

๑๐

 

ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา

๑๒

 

       จบชั้นประถมศึกษา

          (ป.๔,ป.๗,ป.๖)

๙๖

๘๖

๑๘๒

 

มัธยมศึกษาตอนต้น

(มศ.๑ – ๓, ม.๑-๓)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

๒๘

๓๕

๖๓

 

(ม.ศ.๔ – ๕,ม.๔-ม.๖,ปวช.)

๒๘

๓๘

๖๖

 

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า

๑๔

 

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

สูงกว่าปริญญา

-

 

รวมทั้งหมด

๑๘๑

๑๘๘

๓๖๙

 

 

 

 

          ระเบียบหรือกฎกติกาหมู่บ้าน  ( ธรรมนูญหมู่บ้าน )

 กฎข้อที่ ๑ ผู้ใดเสพ ผู้ใดค้าหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิด จะถูกตัดสิทธิในการได้รับการช่วยเหลือ    จากหมู่บ้านและทางภาครัฐทุกหน่วยงาน

กฎข้อที่ ๒  ครอบครัวเหลือบุคคลใดในครอบครัวยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจะไม่อนุญาตให้กู้เงินกองทุนทุก ประเภท และตัดน้ำประปาออก ( ว่ากล่าวตักเตือน ๒ ครั้งก่อน )

กฎข้อที่ ๓  ในงานเลี้ยงต่างๆภายในหมู่บ้าน ถ้าผู้ใดก่อเหตุทะเลาะวิวาทผู้นั้นต้องเสียค่าปรับ ๕๐๐ บาท ให้กับบ้านนาคำ เพื่อเป็นกองกลางของหมู่บ้าน( เข้าบัญชีกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน ) และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีจนถึงที่สุด

กฎข้อที่ ๔  ผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าประชุมประชาคมหมู่บ้านกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้านและ  ระหว่างหมู่บ้านจะถูกตัดสิทธิในการกู้เงินทุกกองทุนและผู้นำจะไม่เซ็นเอกสารให้ทุกกรณีย์ (ถ้าเกิน ๓ ครั้ง )

กฎข้อที่ ๕  ผู้ใดขับรถทุกชนิดเสียงดัง และเร็วภายในหมู่บ้านจะถูกปรับ ๕๐๐ บาท ( เข้าบัญชีกลาง หมู่บ้าน ) และดำเนินคดีตามกฎหมาย ( ว่ากล่าวตักเตือน ๒ ครั้ง )

กฎข้อที่ ๖  การทำให้ของที่เป็นสาธารณะประโยชน์ชำรุดเสียหาย เช่นการสูบน้ำข้ามถนนต้องซ่อมแซมให้  ดีเหมือนเดิม

 

กฎข้อที่ ๗ ห้ามทิ้งขยะทุกชนิดลงในลำเหมืองทุกสาย ถ้ามีการร้องเรียนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทำลายสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่  ๒ กระบวนการและขั้นตอนการขับเคลื่อนหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนา

           คุณภาพชีวิต ปี ๒๕๖๐

          สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร

                   ๑. การเตรียมการ

๑.๑ จัดทำคำสั่งผู้รับผิดชอบงานสาสนเทศและงานประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชนจังหวัด       มุกดาหาร ตามคำสั่งจังหวัดมุกดาหาร ที่ ๒๑๒๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕  ธันวาคม ๒๕๕๙

๑.๒ จัดทำแผนการดำเนินงาน ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหาร ที่ มห ๐๐๑๙/ว ๖๗๘๕  ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เรื่องการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด/อำเภอ ประจำปี ๒๕๖๐

                   ๒. การดำเนินงาน

๒.๑ การสื่อสารเพื่อการรับรู้ จัดส่งคู่มือจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศฯ การจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในวันประชุมเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ไตรมาสที่ ๑

๒.๒ พัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ฯ ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหาร ที่ มห ๐๐๑๙/ว ๑๒๓๐  ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐  เรื่องพัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล (Mr.CIA)

๒.๓ การคัดเลือกหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด ดังนี้                                                    แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก จัดทำเกณฑ์การคัดเลือก แจ้งสำนักงานพัฒนาชุมชน                                                   อำเภอทราบ ประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือก ประกาศผลการคัดเลือก

๒.๔ ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด ตามแนวทางการดำเนินงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

                    ๓. การติดตามผล/การรายงานผลการดำเนินงาน

๓.๑ ติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและจังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ไตรมาสละ ๑ ครั้ง

                             ๓.๒ ติดตามการดำเนินงานโดยกลุ่มงาสารสนเทศการพัฒนาชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง

                             ๓.๓ รายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด

 

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

                   ๑. การเตรียมการ

๑.๑ จัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองมุกดาหาร

๑.๒ การสื่อสารเพื่อการรับรู้ ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนชี้แจงแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                   ๒. การดำเนินงาน

๒.๑ คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน(VDR) ปี ๒๕๖๐ ตำบลละหนึ่งหมู่บ้านและรายงานการพัฒนาตำบล (TDR)จำนวน ๑ ตำบล ตามแนวทางที่กรการพัฒนาชุมชนกำหนด

๒.๒ พัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ฯ ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหารที่ มห ๐๐๑๙/ว ๑๒๓๐  ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐  เรื่องพัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล (Mr.CIA)

๒.๓ นักวิชากาพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบตำบลประชุมชี้แจงหมู่บ้านเป้าหมายรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน(VDR) เพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำVDR

๒.๔  คณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคัดเลือกหมู่บ้านที่จัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้านVDR เพื่อพัฒนาเป็นหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด

๒.๔ ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ตามแนวทางการดำเนินงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

                   ๓. การติดตามผล/การรายงานผลการดำเนินงาน

๓.๑ ติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเดือนละ ๑ ครั้ง

                             ๓.๒ ติดตามการดำเนินงานโดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบตำบล เดือนละ ๑ ครั้ง

                             ๓.๓ รายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่จังหวัดกำหนด

 

หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

          การเตรียมการและวิธีการ

จากการที่หมู่บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ได้ดำเนินการใช้ข้อมูลสารสนเทศฯ ในการจัดแผนชุมชน และพัฒนาหมู่บ้านในทุกๆด้านที่ผ่านมา ประกอบกับทางหมู่บ้านมีความพร้อมทั้งบุคลากร งบประมาณ สถานที่ ในการรายงานการพัฒนาหมู่บ้านVDR ดังนี้

๑. ประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในหมู่บ้าน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯและสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯแก่ประชาชนในหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องความสำคัญของข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ ให้ความรู้เรื่องความหมายข้อมูลสารสนเทศและตัวอย่างการนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจและเห็นความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศในการนำไปแก้ไขและพัฒนาหมู่บ้าน  ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่มีในหมู่บ้านชี้แจงความสำคัญของข้อมูลการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เช่นข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕๙  ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.๒ค) ปี ๒๕๕๘ ข้อมูลทุนชุมชนข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น (ปราชญ์ชาวบ้าน) ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยข้อมูลผู้นำชุมชนข้อมูลกลุ่ม/กองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์วางแผนแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ จัดเวทีประชาคมคัดเลือกคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้

          ๑) นายสมยศ  สุพร                 ประธาน

          ๒) นายสุทิน  สุพร                  กรรมการ

          ๓) นายละคร  พยอม               กรรมการ

          ๔) นายดม  พันธ์หมุด               กรรมการ

          ๕) นายแบน  สุพร                  กรรมการ

          ๖) นางรุ่งทิพย์  ยาวุธ               กรรมการ

          ๗) นายราชัน  สุพร                 กรรมการและเลขานุการ

ที่ปรึกษา

          พระครูประดิษฐ์กาญจนคุณ  เจ้าคณะตำบลผึ่งแดด

          นายวิลัยพนม  สุพร       นายกเทศมนตรีตำบลผึ่งแดด

          นายนุ่ม  ไวว่อง

          นางยิ้มยวน  ไวว่อง

การวิเคราะห์ศักยภาพหมู่บ้านสภาพแวดล้อมภายใน

จุดอ่อน:ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น

v ด้านเศรษฐกิจ       

         ๑. ประชากรในหมู่บ้านหลายครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง

         ๒. หลายครัวเรือนในหมู่บ้านมีภาระใช้จ่ายมากกว่ารายได้

v ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

๑. ประชาชนบางส่วนยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง

๒. ขาดการส่งเสริมการออกกำลังกาย การสนับสนุนการกีฬาในชุมชน

๓. ประชาชนขาดวินัยการจราจร

v ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. ฤดูแล้งน้ำไม่พอใช้ในการทำการเกษตร

v ด้านความมั่นคงและความสงบ
   
๑. ไม่มีปัญหา

v ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          ๑. ไม่มีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง

v ด้านสาธารณสุขและบริหารจัดการ

๑. ประชาชนในหมู่บ้านขาดตระหนักเรื่องการรับประทานอาหารซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น อ้วน, เบาหวาน, ความดัน, ไขมัน, มะเร็ง ฯลฯ

๒. ชาวบ้านไม่ค่อยรักษาเวลานัดหมายการเข้าร่วมประชุม 

 

    จุดแข็ง : ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น

v ด้านเศรษฐกิจ

            ๑.  มีกองทุนหมู่บ้านเพื่อกู้ยืมประกอบอาชีพ

  ๒.  ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยปลูกผัก                    ปลอดสารพิษและเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร

             ๓. มีเส้นทางคมนาคมระหว่างหมู่บ้านเพื่อใช้ขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก

v ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

    ๑. มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของคนในหมู่บ้าน เช่น งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ,เวียนเทียน ,  แห่เทียนเข้าพรรษา , บุญเดือนสามเปิดประตูเล้าข้าวขึ้นฉาง  บุญผเวด งานลอยกระทง 

    ๒. ประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านและงานต่างๆเป็นอย่างดี

   ๓. หมู่บ้านมีกองทุนที่จัดสรรเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและ           ผู้ด้อยโอกาส

v ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑.  ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านเช่นน้ำประปามีการเตรียมความพร้อมที่พอใช้

              ๒.  ประชาชนส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเองและสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างดี

v ด้านบริหารจัดการ

๑. มีคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข้มแข็ง

๒. มีการบริหารกองทุนต่างๆในหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาล มีกองทุน ดังนี้

           ๑) กองทุนหมู่บ้าน ตั้งเมื่อ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม  พ.ศ.๒๕๔๖  ประธานกลุ่มคือ นายจันลี สุพร            มีเงินทุนที่รัฐบาลสนับสนุน จำนวน ๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท

           ๒). กลุ่มรุ่งตะวัน  ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ ประธานกลุ่มคือ  นายสมยศ สุพร มีเงินทุนหมุนเวียน ๑๗,๐๐๐ บาท สมาชิก จำนวน ๒๑ คน

           ๓)  กลุ่มสตรี ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘  ปัจจุบันมีสมาชิก  ๓๐ คน กรรมการบริหารกลุ่ม ๕ คน ประธานกลุ่มคือ นางจำปี สุพร           

v  ด้านการศึกษา

  มีสถานศึกษามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกาญจนประดิษฐ์ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลผึ่งแดด

v ด้านสาธารณสุข

๑. ประชาชนในหมู่บ้านปลอดภัยจากไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆเพราะมี อสม.   ช่วยให้  ความรู้และ

    ป้องกัน

๒. อสม.ออกให้บริการวัดความดันให้กับผู้สูงอายุและชั่งน้ำหนักเด็กเป็นประจำทุกเดือนจึงทำให้เด็กและ

    ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  การวิเคราะห์ปัจจัย หรือสภาพแวดล้อมภายนอก

  โอกาส

๑. นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ และเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วม

    ของทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณการ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

     พอเพียง

            ๒. นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ และเปิดโอกาส ในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วม    

                 ของทุกภาคส่วนเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน

            ๓. รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินทุนให้กับหมู่บ้านในรูปของกทบ.และกองทุนสตรีฯ

  

       อุปสรรค
            ๑. ต้นทุนการผลิตสูงแต่ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

            ๒. การเลือกตั้งเป็นตัวสร้างปัญหาของความแตกแยกของกลุ่มคนในหมู่บ้านตามมา

            ๓. ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้นทำให้ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

 

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน “หลากหลายกลุ่มอาชีพ  ชุมชนเข้มแข็ง ผู้คนมีคุณธรรมเอื้ออาทร ยึดมั่นหลักความพอเพียง”

พันธกิจ 

1)  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค

2) สร้างวิสาหกิจชุมชน

3) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้

4) พัฒนากลุ่มอาชีพ  กลุ่มสตรี

5) ส่งเสริมกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6) ส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยและคุณธรรมจริยธรรม

7) พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก ผู้สูงอายุ  คนพิการ ผู้พิการ ผู้ยากไร้

8) กำจัดขยะมูลฝอย บำรุงรักษาทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้

         

การประเมินสถานการณ์ของหมู่บ้านจากข้อมูล

ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค)

          2.1 ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ.

          จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับมาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ แบ่งเป็น 5 หมวดคือ

          หมวดที่ 1 สุขภาพดี                มี          7      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย             มี          8      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา         มี          5      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า         มี          4      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม          มี          6      ตัวชี้วัด 

แบบสรุปคุณภาพชีวิตของครัวเรือน (จปฐ.1) ปี 2559

          บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

          หมวดที่ 1 สุขภาพดี มี  7 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด

          หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด

          หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด

          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า มี  4 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด

          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม มี 6 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ ๑ ตัวชี้วัด

          ข้อที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่  จากการสำรวจ จำนวน ๓๖๙ คน  พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๑๑


          2.2 ผลการสำรวจข้อมูล กชช.2ค

          จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปี 2558บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับ 3 (มีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา) จำนวน ๑๙ ตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหา เป็นดังนี้

ตัวชี้วัดเป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ

                   ๘)   การมีงานทำ

๕) การกีฬา

๗) การได้รับการศึกษา

2๑) การเรียนรู้โดยชุมชน

ตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ

          ๔)   น้ำเพื่อการเกษตร

          ๖)   การมีที่ดินทำกิน

          ๒๙) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

          ๓๓) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

 

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช.2ค ปี 2558

บ้านนาคำหมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

ตัวชี้วัด

คะแนน

ตัวชี้วัด

คะแนน

1. ด้านโครงสร้าง

    (1) ถนน

(2) น้ำดื่ม

    (3) น้ำใช้

    (4) น้ำเพื่อการเกษตร

    (5) ไฟฟ้า

    (6) การมีที่ดินทำกิน

    (7) การติดต่อสื่อสาร

 

3

3

3

2

3

2

3

5. ด้านการมีส่วนร่วมและความเข็มแข็งของชุมชน

(21) การเรียนรู้โดยชุมชน

(22) การได้รับการคุ้มครองทางสังคม

(23) การมีส่วนร่วมของชุมชน

(24) การรวมกลุ่มของประชาชน

(25) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ

ประชาชน

 

 

1

 

3

3

2. ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

    (8) การมีงานทำ

    (9) การทำงานในสถานประกอบการ

    (10) ผลผลิตจากการทำนา

    (11) ผลผลิตจากการทำไร่

    (12) ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่น ๆ

    (13) การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

    (14) การได้รับประโยชน์จาการมีสถานที่ท่องเที่ยว

 

1

ไม่มี

3

ไม่มี

ไม่มี

 

ไม่มี

 

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(26) คุณภาพดิน

(27) คุณภาพน้ำ

(28) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

(29) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

(30) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

 

 

3

ไม่มี

ไม่มี

3

 

 

3. ด้านสุขภาพและอนามัย

    (15) ความปลอดภัยในการทำงาน

    (16) การป้องกันโรคติดต่อ

    (17) การกีฬา

 

 

3

3

1

 

7.ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ

(31)ความปลอดภัยจากยาเสพติด

(32)ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

(33)ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

 

 

3

2

4. ด้านความรู้และการศึกษา

(18) การได้รับการศึกษา

(19) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

(20) ระดับการศึกษาของประชาชน

 

1

3

3

 

 

ระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3

 

          2.3 การวิเคราะห์จากโปรแกรม Community Information Radar Analysisหรือ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศสำคัญของ บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลผึ่งแดด

 

 

 

จากการสำรวจ ข้อมูล จปฐ.  ปี 2559 พบว่าหมู่บ้าน ตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ คือตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สบบุหรี่และจากข้อมูล กชช.2ค. ปี 2558  โดยมีตัวชี้วัดเป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ๘) การมีงานทำ๕) การกีฬา๗) การได้รับการศึกษา2๑) การเรียนรู้โดยชุมชนตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ๔) น้ำเพื่อการเกษตร๖) การมีที่ดินทำกิน๒๙) การใช้ประโยชน์ที่ดิน๓๓) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชนโดยนำข้อมูลที่ได้มา บันทึกลงโปรแกรม Community Information Radar Analysis เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพเป็นอันดับแรก อันดับ 2 ปัญหาสารสนเทศเพื่อการจัดการความเสี่ยงชุมชน อันดับ 3 ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชน อันดับ 4 ปัญหาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชุมชน และอันดับ 5ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนสำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ทางหมู่บ้านได้ส่งเสริมงาน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ประสานการตลาดและประสานแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สนับสนุนการบริหารจัดการโครงการให้เป็นและทำได้ ส่งเสริมให้ประชาชนออมทรัพย์

 

รูปแบบของสารสนเทศในหมู่บ้านและการเผยแพร่/การบำรุงรักษา

        ๑. มีการจัดทำเอกสารข้อมูลต่างๆรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการนำไปใช้

        ๒. จัดทำแผ่นป้ายแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมข่าวสารต่างๆของหมู่บ้านติดตั้งไว้ ภายในศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อให้คนในหมู่บ้านหรือผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูลของหมู่บ้าน

        ๓. เผยแพร่กิจกรรมของหมู่บ้านผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต Facebook/Website/Line ของหมู่บ้าน/อำเภอ/  จังหวัด

        ๔. การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวจากการประชุมของผู้นำชุมชนในโอกาสวิทยุชุมชน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหมู่บ้านทางเว็บไซต์ ทต.ผึ่งแดด เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของหมู่บ้านซึ่งเป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติ รวมถึงช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Line ฯลฯ และสร้างช่องทางหรือรูปแบบอื่นๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน เช่น การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้หมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงาน หรือการประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น เคเบิลทีวีท้องถิ่น หรือวารสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศ (5 P’s Key Success Factors)

          1. การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน (Participation)

          2. การสร้างแรงจูงใจและประสานความร่วมมือ (Persuasion)

          3. การพัฒนากิจกรรมและการบริหารจัดการด้านสารสนเทศ (Procession)

          4. การประเมินศักยภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (Performance & Proficiency)

          5. การสร้างช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งาน (Promotion & Publication)

 

ผลที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือนและประชาชน

              จากการจัดทาระบบข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้านและได้เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ครัวเรือนและคนในชุมชนได้รับประโยชน์ดังนี้

              1. คนในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

              2. คนในครัวเรือนมีความสุขมากขึ้น

              3. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

              4. ชุมชนมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

              5. ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้านขับเคลื่อนเป็นกิจกรรม/โครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน

              6. นำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลและช่วยกันรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

              7. การจัดทำข้อมูลคลังความรู้ของหมู่บ้านผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ข้อมูลของหมู่บ้านเกิดการรับรู้ในวงกว้าง

              8. ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชนทุนที่เป็นเงินและไม่ใช่เงิน

              9. มีการจัดสวัสดิการชุมชนทำให้ทุกคนได้รับการดูแลโดยทั่วถึงกัน

            10.หมู่บ้านมีการจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป

 

ผลการดำเนินงานตามโครงการการหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

๑. การใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในหมู่บ้าน

๑.๑ สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพ (การผลิต  การตลาด การจัดการ) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในพื้นที่ ดังนี้

          ๑)  ด้านการผลิต ส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษ เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น ถั่วลิสง แตงกวา พืชผักสวนครัว มีแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลเพื่อให้                    ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต  การเรียนรู้จากข้อมูลสารสนเทศทำให้คนใน                    ชุมชนทดลองปลูกพืชที่หลากหลาย ทำให้มีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น เกิดสัมมาชีพในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ประชาชนมีรายได้ และสังคมเกิดความสุขอย่างทั่วถึง

          ๒)  ด้านการตลาด  ส่งเสริมช่องทางการตลาดผลผลิตของหมู่บ้าน ทางระบบ IT เช่น Fb   Line ทำให้สามารถขายผลผลิตได้เพิ่มมากขึ้น

          ๓)  การบริหารจัดการ  ข้อมูลสารสนเทศทำให้ผู้ผลิตรู้หลักการบริหารจัดการฟาร์มครอบครัวโดยการจัดบันทึกรายรับรายจ่าย ทำให้รู้กำไร-ขาดทุนในการประกอบอาชีพ  ทำให้รู้ทิศทางในการประกอบอาชีพ ทำ ให้ลดความเสี่ยงในการลงทุน

 ๑.๒  สารเทศเพื่อการจัดการชุมชน (สร้างภูมิคุ้มกัน) มีการเชื่อมโยงสารสนเทศการบริหารจัดการชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาเยาวชน ในพื้นที่หมู่บ้านตำบลทะเลาะวิวาทกัน

๒. ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

          ต่อครัวเรือนและประชาชน

จากการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้านและได้เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ครัวเรือนและคนในชุมชนได้รับประโยชน์ดังนี้

              1. คนในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

              2. คนในครัวเรือนมีความสุขมากขึ้น

              3. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

              4. ชุมชนมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

              5. ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้านขับเคลื่อนเป็นกิจกรรม/โครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน

              6. นำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลและช่วยกันรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

              7. การจัดทำข้อมูลคลังความรู้ของหมู่บ้านผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ข้อมูลของหมู่บ้านเกิดการรับรู้ในวงกว้าง

              8. ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชนทุนที่เป็นเงินและไม่ใช่เงิน

              9. มีการจัดสวัสดิการชุมชนทำให้ทุกคนได้รับการดูแลโดยทั่วถึงกัน

            10.หมู่บ้านมีการจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป
          ผลที่เกิดต่อชุมชน

1.ด้านสังคม

กระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักในการเอื้อเฟื้อแบ่งปันซึ่งกันและกันในหมู่บ้านและชุมชนและเน้นความสำคัญในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลังและองค์ความรู้ที่เป็นทุนเดิมของชุมชนมาใช้ในชีวิตประจําวัน

          2.ด้านเศรษฐกิจ

ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอาชีพของชุมชนที่หลากหลายทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นโดยชุมชนสามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สินค้าการเกษตร เพื่อยกระดับและพัฒนาเพิ่มมูลค่าและเพิ่มช่องการการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิตและเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

 

3.ด้านสิ่งแวดล้อม

กระตุ้นและปลูกจิตสานึกในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนร่วมกันอนุรักษ์และรักษาไว้เพื่อเป็นทุนให้กับชุมชนและลูกหลาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก : ภาพกิจกรรมในชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view