http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,975
เปิดเพจ51,973
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
iGetWeb.com
AdsOne.com

จปฐ.

จปฐ.

ข้อมูลมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
                   ข้อมูล จปฐ. คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความเป็นมา
                   ปี 2528 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2528 ให้มีการดำเนินการโครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิต และประกาศใช้เป็นปี รณรงค์ คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.) (20 สิงหาคม 2528-31 ธันวาคม 2530) โดยใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน 8 หมวด 32 เครื่องชี้วัด เป็นเครื่องมือ ที่ใช้วัด คุณภาพชีวิตของคนไทยว่าอย่างน้อยคนไทยควรมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง และควรมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
                   ปี 2531 คณะกรรมการพัฒนาชุมชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบโครงการ ปีรณรงค์ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานต่อ ภายใต้ชื่องานว่า “งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)”
                   ปี 2532 กชช. มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2532 ให้กรมการพัฒนาชุมชนจัดเก็บข้อมูล จผฐ. เป็นประจำทุกปี
                   ปี 2533 เป็นต้นมา มีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ทุกครัวเรือนทั้งประเทศทุกปีและกรมการพัฒนาชุมชนทำการประมวลผลวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของคนไทย ในภาพรวมทั้งประเทศ
                   ปี 2535 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บอมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เป็น 9 หมวด 37 ตัวชี้วัด
                   ปี 2540 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) เป็น 8 หมวด 39 ตัวชี้วัด
                   ปี 2544 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9( พ.ศ. 2545 – 2549 ) เป็น 6 หมวด 37 ตัวชี้วัด

                    คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)มีมติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ให้ความเห็นชอบให้ กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เขตเมือง (เทศบาล) มีการจัดทำเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เขตเมือง เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในเขต กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลทุกแห่ง

หลักการ
                   (1) ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบถึงสภาพ ความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ 
                   (2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ จปฐ. นับตั้งแต่การกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ตลอดจน การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
                   (3) ใช้ข้อมูล จปฐ. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่าง ๆ ของรัฐให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ อย่างจำกัด ได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพรวมทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

ตถุประสงค์
                   เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป้นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ. เป็นเครื่องมือ

การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง) ปี 2559

อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

..............................................................................................................

                       ตามที่จังหวัดมุกดาหารได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยว่า ได้กำหนดนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน    ให้ดีขึ้นและการวางแผนพัฒนาในทุกระดับ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด  รวมทั้ง
เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในปีงบประมาณ ๒๕๕9 กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ทุกหมู่บ้าน/ตำบล ดำเนินการจะเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง) ระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม ๒๕๕9  นั้น

                     เพื่อให้การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง) อำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อำเภอเมืองมุกดาหาร โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร ได้ดำเนินการ ดังนี้

                     1.ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เขตชนบท

                         1.1 การเตรียมการและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล

                             1.1.1 ได้จัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 ดังนี้

                                  ๑) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 ระดับอำเภอ และระดับตำบล

                                  ๒) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานติดตาม ตรวจสอบ และรับรองข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๕9 ระดับหมู่บ้าน

                                  ๓) คำสั่งแต่งตั้งอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 ระดับหมู่บ้าน

                                  ๔) คำสั่งแต่งตั้งผู้บันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9 ระดับตำบล

                            1.1.2 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9  โดยได้กำหนดห้วงระยะเวลาฯ ดังนี้

                                 ๑) ขั้นเตรียมการ ในช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๕8 (เตรียมพร้อมทะเบียนครัวเรือน/จัดทำคำสั่งต่างๆ/แบบสอบถาม/ประชุมชี้แจงคณะทำงานฯ/ประชุมชี้แจงผู้จัดเก็บฯ)       

                                 ๒) ขั้นจัดเก็บและบันทึกข้อมูล ในช่วงเดือน มกราคม ๒๕๕9 (ผู้บันทึกจัดเก็บข้อมูล ตรวจสอบ/รับรองข้อมูล และส่งให้ผู้บันทึกฯ)

                                 ๓) ขั้นติดตามและรับรองข้อมูล กำหนดภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ๒๕๕9 (คณะทำงานระดับหมู่บ้าน/ตำบล/ผู้จัดเก็บฯ/ผู้บันทึกฯ ร่วมกันจัดเวทีตรวจสอบรับรองข้อมูล และส่งข้อมูล จปฐ. ให้อำเภอ/จังหวัด)

                             1.1.3 ได้จัดทำทะเบียนครัวเรือนเป้าหมายในการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ประจำปี 2559 จำนวน  26,536 ครัวเรือน 149 หมู่บ้าน 12 ตำบล รายละเอียดตามเอกสารแนบ

                             1.1.4 ได้กำหนดประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  12 ตำบล  จำนวน  660  คน  ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม  2558  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบล ดังนี้

  วันที่  1  ธันวาคม  2558       ตำบลดงเย็น, ตำบลบางทรายใหญ่, ตำบลโพนทราย

                     วันที่  2  ธันวาคม  2558       ตำบลคำอาฮวน, ตำบลบ้านโคก, ตำบลคำป่าหลาย

                     วันที่  3  ธันวาคม  2558       ตำบลกุดแข้, ตำบลมุกดาหาร, ตำบลดงมอน

                     วันที่  4  ธันวาคม  2558       ตำบลนาสีนวน, ตำบลนาโสก, ตำบลผึ่งแดด

     1.2 การติดตามประเมินผลของคณะทำงาน ระดับต่างๆ

                           1.2.1 ติดตามโดยการประชุม เช่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ประชุมหัวหน้าส่วนราชการฯ ผู้บริหาร  อปท.

                           1.2.2 ติดตามโดยการลงพื้นที่ของพัฒนาการอำเภอ/พัฒนากร

                           1.2.3 ติดตามโดยแบบรายงาน โดยเลขานุการคณะทำงานระดับตำบล (พัฒนากร) ส่งสรุปความก้าวหน้าการจัดเก็บ/บันทึกให้อำเภอทราบทุกวันพฤหัสบดี เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2558

                       1.3 รูปแบบและวิธีการรายงานผลความก้าวหน้าในการบริหารการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

                          1.3.1 พัฒนากร รายงานสรุปความก้าวหน้าทุกวันพฤหัสบดี เพื่อให้คณะทำงานฯระดับอำเภอ (พัฒนาการอำเภอ) รายงานให้จังหวัดทราบทุกวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม  2558

                       1.4 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล

      อำเภอเมืองมุกดาหาร กำหนดแนวทางการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล ดังนี้

                          1.4.1 พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลและผู้จัดเก็บข้อมูลของหมู่บ้านนำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เสนอต่อประชุมระดับหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและประชาชนทราบและร่วมตรวจสอบ/ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ทุกหมู่บ้านให้แล้วเสร็จภายในวันที่  5  กุมภาพันธ์  2559

                          1.4.2 พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลและผู้จัดเก็บข้อมูลของหมู่บ้านนำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เสนอต่อประชุมระดับตำบล กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทราบและร่วมตรวจสอบ/ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ให้แล้วเสร็จภายในวันที่  8  กุมภาพันธ์  2559

                         1.4.3 ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลระดับอำเภอ โดยนำเสนอข้อมูลพื้นฐานต่อที่ประชุมของ อปท.  เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนรับทราบ และสำเนาข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดพร้อมคำรับรองคุณภาพข้อมูลพื้นฐาน ระดับ อปท. ให้แล้วเสร็จภายใน 10 กุมภาพันธ์  2559

                         1.4.4 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร ส่งคำรับรองคุณภาพข้อมูล ปี 2559 ระดับอำเภอส่งให้จังหวัด ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

                   2.ข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง)

                     2.1 ประสานเทศบาลเมืองมุกดาหาร  ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน        (เขตเมือง)  ให้เป็นปัจจุบัน  เป้าหมายอาสาสมัครจัดเก็บ  จำนวน  310 คน

                     2.2 เชิญร่วมประชุมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน (เขตเมือง)  ในวันที่  3  ธันวาคม  2559  ณ ห้องประชุมศาลาเรารักมุกดาหาร (ศาลาขาว)

                     2.3 อำเภอเมืองมุกดาหาร สนับสนุนเล่ม จปฐ.

                     2.4 ประสานเทศบาลเมืองฯ กับนักพัฒนาชุมชน เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน เพื่อรายงานให้จังหวัดทราบทุกวันศุกร์  เริ่มตั้งแต่วันที่  18 ธันวาคม  2558

1. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ  ณ เทศบาลตำบลดงเย็น  เป้าหมาย   14  หมู่บ้าน 2,672 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  66 คน ดำเนินการใน      วันที่ 1 ธันวาคม  25548

2. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลบางทรายใหญ่  เป้าหมาย  13  หมู่บ้าน 2,527 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  62 คน ดำเนินการใน  วันที่ 1 ธันวาคม  25548

3. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลโพนทราย  เป้าหมาย 15  หมู่บ้าน 2,109 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  51 คน ดำเนินการในวันที่ 1 ธันวาคม  25548

4. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลคำอาฮวน  เป้าหมาย 16  หมู่บ้าน 3,745 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  95 คน ดำเนินการในวันที่ 2 ธันวาคม  2554

.5. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลบ้านโคก  เป้าหมาย 13  หมู่บ้าน 1,871 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  44 คน ดำเนินการในวันที่ 2 ธันวาคม  25548

.6. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลคำป่าหลาย  เป้าหมาย 17  หมู่บ้าน 3,520 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  89  คน ดำเนินการในวันที่  2  ธันวาคม  2558

7. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลกุดแข้  เป้าหมาย 6  หมู่บ้าน 964 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  25  คน ดำเนินการในวันที่ 3 ธันวา8. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลมุกดาหาร  เป้าหมาย 6  หมู่บ้าน 1,724 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  42  คน ดำเนินการในวันที่ 3 ธันวาคม  25548

8. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลมุกดาหาร  เป้าหมาย 6  หมู่บ้าน 1,724 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  42  คน ดำเนินการในวันที่ 3 ธันวาคม  25548

9. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลดงมอน  เป้าหมาย 10 หมู่บ้าน 1,252 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  31  คน ดำเนินการในวันที่ 3 ธันวาคม  25548

10. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลนาสีนวน  เป้าหมาย 10 หมู่บ้าน 2,141 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  54  คน ดำเนินการในวันที่ 4 ธันวาคม  25548

11. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลนาโสก  เป้าหมาย 16 หมู่บ้าน 2,661 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  67  คน ดำเนินการในวันที่ 4 ธันวาคม  25548

12. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แก่ผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ.  ณ เทศบาลตำบลผึ่งแดด  เป้าหมาย 13 หมู่บ้าน  1,350 ครัวเรือน ผู้จัดเก็บ  34  คน ดำเนินการในวันที่ 4 ธันวาคม  25548

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view