http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,803
เปิดเพจ51,797
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

ผลการดำเนินงานหมู่บ้านศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี พ.ศ.2560

 ผลการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พ.ศ. 2559 

บ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลดงมอน

ด้านจิตใจและสังคม
๑.ประชาชนมีความสามัคคีและความร่วมมืออันดีระหว่างกัน มีกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
๑.๑ การประชุม/การจัดเวทีประชาคม
- การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
- การจัดประชาคมที่สำคัญ เช่น
๑) เรื่องการปรับปรุงทบทวนแผนชุมชน
๒) เรื่องการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้าน
๓) เรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔) เรื่องการจัดกิจกรรมงานบุญผ้าป่าวัดป่าธรรมณีธรรม
๕) เรื่องการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖) เรื่องการเตรียมการประกวดคัดสรรกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น
๗) เรื่องการเตรียมการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนวัดอรัญญิกาวาส
๘) เรื่องการดำเนินโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี
๑.๒ ในรอบปี มีกิจกรรมที่จัดเพื่อส่วนรวมในหมู่บ้านตามแนวทางชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี คือ
๑) กิจกรรมพัฒนาสิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้านเช่นทำความสะอาดถนน แหล่งน้ำ การตัดแต่งต้นไม้
การทำรั้วบ้าน การทำความสะอาดศาลาประชาคม
๒) กิจกรรมการพัฒนาและซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลาวัด ศาลาประชาคม ถนน
๓) กิจกรรมการปลูกป่าปีละ ๒ ครั้ง (๑๒ สิงหาคม และ ๕ ธันวาคม) การพัฒนาแหล่งน้ำ

๒. หมู่บ้านมีข้อตกลงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
ชุมชนมีวิธีการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการสืบทอดและรักษาจารีตประเพณีเพื่อความสงบสุข
ชุมชนมี ข้อปฏิบัติ เรียกว่า กฎระเบียบของหมู่บ้านข้อบังคับตามติประชาคมหมู่บ้าน
๑. ผู้ใดยิงปืนโดยไม่มีสาเหตุอันควรปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๒. ผู้ใดลักเล็กขโมยน้อยทรัพย์สินอันมีค่าของผู้อื่นปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๓. ผู้ใดก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือก่อความวุ่นวายในหมู่บ้านปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๔. ผู้ใดวางเพลิงโดยเจตนาหรือประมาทอันทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นหรือที่สาธารณะเกิดความเสียหายปรับ ๒๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามความเหมาะสม
๕.ผู้ใดขับขี่ยานพาหนะอันเป็นที่หวาดเสียวในหมู่บ้าน หรือและส่งเสียงรบกวนฝ่าฝืนปรับครั้งละ ๕๐-๑๐๐ บาทขึ้นไป
๖. ผู้ใดปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตามความเหมาะสมแห่งกรณีและ หรือเหตุ
๗. ผู้ใดเล่นการพนันในหมู่บ้านปรับคนละ ๑๐๐-๕๐๐ บาทขึ้นไป
๘. ผู้ใดมั่วสุมหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิดในหมู่บ้าน สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ส่วนบุคคล
๘.๑ ว่ากล่าวตักเตือนถ้าไม่ฟังปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไปถ้าทำอีกดำเนินการตามข้อ ๘.๒
๘.๒ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
๙. ผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการประชุมหรือไม่ร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านติดต่อกัน ๓ ครั้ง จะไม่นำมาพิจารณาให้การสงเคราะห์จากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป หรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตาม
ความเหมาะสมแห่งกรณีและ หรือเหตุ
๑๐.บุคคลใด หรือครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือเข้าร่วมน้อยกว่า ๖ ครั้งต่อปีจะไม่ให้กู้ยืมเงินกองทุนต่างๆของหมู่บ้าน
๑๑.การใช้สถานที่ในศาลาประชาคมในการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนต้องเสียค่าบำรุงสถานที่ครั้งละ ๒๐๐ บาท/วัน
๑๒.ผู้ใดลักลอบจับสัตว์น้ำทั้งในฤดูวางไข่หรือนอกฤดูก็ตามในหนองน้ำสาธารณะ เช่น หนองหัวคำ หนองป่ง หนองกกบก
๑๒.๑ ถ้าจับโดยที่ไม่มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงว่ากล่าวตักเตือนก่อน
๑๒.๒ ถ้าใช้ไฟฟ้าช็อตใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การใช้สารเคมีหรือสารพิษจากพืชก็ตามเพื่อจับสัตว์น้ำ ปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไปและจับดำเนินคดีตามกฎหมาย
๑๓. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกแผ้วถางป่า ป่าสาธารณะ ป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๑ ห้ามจุดไฟเผาป่า หรือล่าสัตว์ในกรณีใดก็ตามที่ทำให้เกิดเชื้อเพลิงที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดไฟไหม้ ปรับ ๕๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๒ ในกรณีเข้าไปในป่าชุมชน เพื่อหาของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักหวาน มาประกอบอาหาร ห้ามถือเลื่อย ขวาน เข้าไปในป่าโดยเด็ดขาด
๑๓.๓ ห้ามนำพืชสมุนไพร กล้วยไม้ และสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติออกมาเพื่อครอบครองโดยเด็ดขาดฝ่าฝืนปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๔ ห้ามบุคคลใดๆที่ไม่ใช่บุคคลในหมู่บ้านเข้าไปหาผลประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๕ กรณีบุคคลภายนอกหมู่บ้าน นอกพื้นที่จะเข้าหาผลประโยชน์จากป่าชุมชน เช่น เก็บเห็ด หน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น ต้องเสียค่าธรรมเนียม ๑๐ บาทต่อครั้งต่อคน
๑๓.๖ คนในหมู่บ้านสามารถเข้าไปหาผลประโยชน์จากป่าชุมชนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น หาเห็ด หาหน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
๑๓.๗ ในกรณีที่จะเข้าไปหาไม้ฟืนนำมาเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหาร สามารถทำได้เฉพาะไม้ที่ตายแล้วและเป็นไม้แห้งเท่านั้น
๑๔. ห้ามทิ้งขยะในบริเวณที่สาธารณะ หรือที่ชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒๐๐ บาทขึ้นไป
๑๕. ห้ามเลี้ยงสัตว์จนก่อให้เกิดมลภาวะต่อชุมชน เช่น ส่งกลิ่นรบกวนต่อชุมชนจนเป็นที่เดือดร้อนในขั้นต้นจะแนะนำแนวทางการปฏิบัติก่อน-ว่ากล่าวตักเตือน-ถ้ายังไม่แก้ไขปรับ ๒๐๐ บาทต่อวัน
๑๖. ห้ามดื่มสุรา หรืออบายมุขต่างๆ ในวัดและงานศพ ฝ่าฝืนปรับ ๕๐๐ บาทต่อครั้งต่อคน
ใช้หลักการประชาคมหมู่บ้าน เสนอข้อคิดเห็น ข้อตกลง แล้วจึงประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อปฏิบัติ หรือการสร้างความเข้าใจกับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยการจัดทำป้ายถาวรประกาศไว้ในที่ชุมชนจำนวน ๑ ป้าย
๓. หมู่บ้าน มีกองทุนเพื่อสวัสดิการของชุมชนเพื่อให้บริการแก่สมาชิกดังนี้
๓.๑ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน/ตำบล โดยร่วมกับบ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ ๖ หมู่บ้านจัดเก็บจากสมาชิกละ ๑๐ บาท/ศพ รวมค่าสงเคราะห์ครั้งละ ๑๐,๕๐๐ บาท
๓.๒ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบ้านจอมณีเหนือ มีสมาชิก ๑๑๗ คน เงิน กองทุน ๒,๒๘๒,๐๐๐ บาทจัดสรรเป็นเงิน สวัสดิการ ๕ ‰ เสียชีวิต ๕๐๐ บาท สงเคราะห์ผู้สูงอายุ และคนพิการ ทุนการศึกษาเด็กนักเรียน โดยสามารถสรุปผลการช่วยเหลือปีล่าสุด ดังนี้
๑) คลอดบุตร ๕๐๐ บาท
๒) เงินขวัญถุงเด็กแรกเกิด ๓๐๐ บาท
๓) เข้ารักษาพยาบาล (นอน ๓ คืนขึ้นไป) ปีละ ๕๐๐ บาท
๔) ช่วยเหลืองานศพ ๑,๐๐๐ บาท
๕) พวงหรีดงานศพ ๓๐๐ บาท
๖) ทุนการศึกษา (เรียนดี ป.๑-๖) ทุนละ ๒๐๐ บาท
๗) ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๘) รางวัลสมาชิกผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๙) ช่วยเหลือสมาชิกทีผู้สูงอายุที่สุดในแต่ละปี (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๑๐) รางวัลสมาชิกที่ส่งเงินสัจจะ + ชำระคืน ตรงตามกำหนด (เป็นเงินสด)
๑๑) คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า (ระเบียบ) กำหนด ดังนี้
- สมาชิกที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ (รายปี)
- สมาชิกที่ชำระเงินคืนตรงตามกำหนด (๒ ปี ติดต่อกัน)
๔. หมู่บ้านยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
๔.๑ การจัดเวทีประชาคมมีตัวแทนคนในครัวเรือนเข้าร่วมเวทีประมาณร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่อยู่จริงในหมู่บ้านมีวิธีการเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อหามติ ข้อตกลงในการดำเนินงานให้เสียงส่วนมากเป็นที่ยอมรับ ต้องฟังเหตุผลจากเสียงส่วนน้อยด้วย
๔.๒ นำมติ ข้อตกลง ที่ประชุม ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบ
๔.๓ การสื่อสารให้ประชาชนในชุมชนรับทราบผลการประชุมโดยตัวแทนคุ้มขยายผล
๔.๔ คนในหมู่บ้านที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๓๔๑ คน ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหลังสุด ๓๑๗ คน ร้อยละ ๙๓

๕. หมู่บ้าน มีหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน
๕.๑ คนในหมู่บ้าน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธา เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทุกวันพระ

๕.๒ คนในหมู่บ้านปฏิบัติต่อกันด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงกิริยาต่อกันตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่น การไหว้ การขอโทษ การขอบคุณและอื่นๆ การช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน
๕.๓ คนในครัวเรือนมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลยกย่องให้เกียรติลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นชัดเจน เช่น
การเคารพปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดาผู้อาวุโส ของชุมชน

๖. คนในครอบครัวมีความอบอุ่น ชุมชนมีความปลอดภัย
๖.๑ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีกิจกรรมการจัดการกับปัญหายาเสพติดโดยการรณรงค์ให้ความแก่กลุ่มเยาวชน
การทำป้ายการอบรมครอบครัวพัฒนา การจัดกิจกรรมป้องกันในโรงเรียน การอยู่เวรยามในชุมชน และ
เป็นหมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด
๖.๒ ในรอบปี หมู่บ้านมีกระบวนการส่งเสริมการ ลดละ เลิกอบายมุข กิจกรรมการ
ส่งเสริมการลดละ เลิกเช่น กิจกรรมงดเหล้าในงานศพโครงการธรรมสัญจรป้ายรณรงค์
๖.๓ คนในหมู่บ้านไม่ติดสุรา ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ ๒๖ ร้อยละ ๑๐๐
๖.๔ คนในหมู่บ้านไม่สูบบุหรี่ร้อยละ ๙๐ (ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ ๒๕)
๖.๕ คนในหมู่บ้านไม่ติดการพนัน ๑๐๐ %
๖.๖ กิจกรรมส่งเสริมการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นการจัดกิจกรรมวันกตัญญู กิจกรรมครอบครัวพัฒนา
๗. คนในหมู่บ้านมีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๗.๑ คนในหมู่บ้านได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
๗.๒ หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่คนในหมู่บ้าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเอง
๗.๓ ในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน ด้วยการเริ่มด้วยการทำบัญชี รับ-จ่าย ในครัวเรือน ทุกครัวเรือนทำให้ได้รู้ตัวเอง จึงเริ่มด้วนกิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน กิจกรรมตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวันและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
๒. กิจกรรมเพิ่มรายได้ เช่น การแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุน
การผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง
๓. กิจกรรมการประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๔. กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยการปลูกผักสวนครัวในกระถางยางรถยนต์เก่า การทำสบู่สมุนไพร การใช้หางไหล ทะลายปาล์มมาทำเป็นกะบองไล่ยุง

๕. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ
๖. การแบ่งปัน เอื้ออารี ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน สละสิ่งของแบ่งปัน เช่น พืชผักสวนครัวของใช้ในครัวเรือน อาหาร ครัวชุมชน สวัสดิการจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร้อยละ ๑๐ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ ๑๐

๓. ด้านเศรษฐกิจ
๘. ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
กิจกรรมการส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย
๑. อบรมให้ความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน
๒. สนับสนุนเอกสารบัญชีครัวเรือนและจัดทำบัญชีครัวเรือคิดเป็น ร้อยละ ๘๐
๙. หมู่บ้านมีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
๑. ครัวเรือนในหมู่บ้าน มีกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย ในชีวิตประจำวัน เช่น การสมุนไพรในหมู่บ้าน แปรรูปทำเป็นสบู่สมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างราคา จำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวได้ การทำน้ำยา ล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้ในครัวเรือน
๒. ครัวเรือนมีการผลิตและการอุปโภค/บริโภคเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ครัวเรือนทำ
๑) อาชีพหลักที่ทำประจำทำนา ทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย
๒) อาชีพเสริมที่ทำปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
๓) การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง
๔) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
๕) ครัวเรือนมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูก
๑๐. หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
๑. คนในครัวเรือนร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน
๒. กลุ่ม/องค์กรในหมู่บ้าน/ชุมชนมีการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ และมีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ลักษณะกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๑. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน
๒. เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้หมู่บ้านอื่น ๆ
๑๑. หมู่บ้าน มีการออมหลากหลายรูปแบบ
๑. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน ร้อยละ ๙๐ของครัวเรือนทั้งหมด
๒. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์และ/หรือกองทุนการเงินอื่นๆ คือ
๑) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิกจำนวน ๑๑๗ คน จัดตั้งเมื่อปี ๒๕๒๕ มีนายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีกิจกรรมการออมเงินและปล่อยเงินกู้เพื่อการเกษตร มีเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท
๒) กองทุนหมู่บ้าน มีสมาชิกจำนวน ๑๑๒ คน จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีนายสมบูรณ์ เหง่าโอสา เป็นประธาน มีกิจกรรมการปล่อยกู้เงิน การรับฝาก
๓) ศูนย์สาธิตการตลาด นายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค อุปกรณ์ทางการเกษตร
๑๒. หมู่บ้านมีการดำเนินการสร้างรายได้ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน
หมู่บ้าน/ชุมชนมีจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ หมูที่ ๖ มี นายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีสมาชิก ๑๑๗ คน มีกิจกรรมการออมเงิน ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ กลุ่ม อสม. มี นายนาย ภาคภูมิ เป็นประธาน สมาชิกจำนวน ๑๔ คน กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน/ควบคุมโรคเบื้องต้น กำจัดลูกน้ำยุงลาย การตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนการตรวจมะเร็งเต้านม ฯลฯ กลุ่มทอผ้า นางดอน ตะดวงดีเป็นประธาน สมาชิกจำนวน ๑๐ คน กิจกรรมทอผ้าพื้นเมืองเพื่อใช้และจำหน่าย สร้างรายได้แก่ครอบครัว กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก นางวรุณจิตร ศิริกาล กิจกรรมสานตะกร้าพลาสติกใช้และจำหน่ายเพิ่มรายได้ ซึ่งทุกกลุ่มมีการบริหารกิจกรรมกลุ่มเป็นการบริหารในรูปแบบคณะกรรมการ แบ่งงานทำ ตามบทบาทหน้าที่ เน้นการช่วยเหลือสมาชิกที่มีรายได้น้อยอาศัยระเบียบ เป็นข้อกำหนดในการบริหาร ระดมหุ้นและแบ่งปันผลกำไรให้สมาชิกและชุมชน

๔. ด้านการเรียนรู้
๑๓. หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน
ข้อมูลของหมู่บ้าน เช่น จปฐ. กชช ๒ ค บัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลที่หมู่บ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชนครบทุกขั้นตอน ดังนี้
- มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจฯ กิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการ
ปฏิบัติ การจัดประชาคมชี้แจงสร้างความเข้าใจ
- จัดเก็บโดยอาสาสมัครการมอบหมายให้ อช. ผู้นำ อช. อสม. ผู้นำคุ้ม ชุมชน จัดเก็บ
- บันทึก/ประมวลผลกิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการปฏิบัติ การบันทึกข้อมูลที่ ทต. ดงมอน
- การประชาคมเพื่อรับรองผลกิจกรรมที่ปฏิบัติ
- จัดทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน
๑๔. หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน
๑. หมู่บ้านมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผน การพัฒนากลุ่ม/องค์กรนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเสนอเวทีประชาคม และหาแนวทางแก้ไข ร่วมกัน กำหนดแนวทาง แผนงานโครงการและงบประมาณ กำหนดในแผนชุมชน
๒. หมู่บ้านสามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง
ตัวอย่างโครงการตามแผนชุมชน ปี ๒๕๕๙

ที่ กิจกรรม/โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ลักษณะกิจกรรม/โครงการ จำนวนงบประมาณ แหล่งที่มางบประมาณ
ทำเอง ทำร่วม ทำให้
๑. การจัดทำบัญชีครัวเรือน ม.ค.  -
๒. เข้าวัดฟังธรรม ม.ค.-ธ.ค.  -
๓. การจัดเวรยามในชุมชน ม.ค.-ธ.ค.  ๒,๔๐๐ ชุมชนดำเนินการเอง
๔. สร้างถนนคอนกรีต ม.ค.  ๑๒๐,๐๐๐ ชุมชนดำเนินการเอง
๕. การแข่งขันกีฬาชุมชน เม.ย.  ๒๐,๐๐๐ ทต.ดงมอน
๖. การปรับแผนชุมชน มี.ค.  -
๗. จัดทำข้อมูลชุมชน มี.ค.  -
๘. ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน เม.ย.  ๑๔๐,๐๐๐ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ฯ
๙. ซ่อมแซมหนองป่ง เม.ย.  ๒๔๘,๐๐๐ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ฯ
๑๐. ปลูกป่าชุมชน เม.ย.  -
๑๑ กิจกรรมสร้างชุมชนเกื้อกูล
-กิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง
-ถนนสวย
-ครัวชุมชน
-ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน ม.ค.-ธ.ค.  ๑๒,๐๐๐ ชุมชนดำเนินการเอง
๑๒ โครงการสร้างฝายแม้ว เม.ย.-ก.ย.  ๘๐,๐๐๐
รวมทั้งสิ้น ๑๒ กิจกรรม/โครงการ ๗ ๑ ๒ ๖๒๒,๔๐๐

๑๕. หมู่บ้านมีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมู่บ้านมีกระบวนการ สืบค้น รวบรวมจัดหมวดหมู่และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่นและใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า
วิธีการค้นหาความรู้และการจดบันทึก
๑) วางแผนการสืบค้นและบันทึก
๒) การเยี่ยมเยียน การนัดหมาย การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสรุปข้อมูล
๓) ตั้งคำถามสำหรับสัมภาษณ์
๔) สืบค้นข้อมูล
๕) บันทึกข้อมูล ประเมินข้อมูล สรุปข้อมูล จัดทำบทสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสืบค้น
วิธีการสืบทอดและการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง
๑. แบบในครอบครัว จากพ่อ แม่สู่ลูก และแบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยเรียนรู้แบบทักษะ แบบลองผิดลองถูก
๒. แบบเพื่อนสอนเพื่อนภายในกลุ่มอาชีพ
๓.แบบที่จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบการฝึกอบรมที่หน่วยงานต่างๆ มีโครงการ หลักสูตร กำหนดการ และการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และฝึกประสบการณ์ตามตารางฝึกอบรม
วิธีการนำไปปรับใช้งาน

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view