http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,770
เปิดเพจ51,761
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

ข้อมูล คน พช.ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน

นายวีระ มะลาดวง ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

คน พช. ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙
**********************************************************

ข้อมูลคน พช. ต้นแบบ
ชื่อ-สกุล วีระ นามสกุล มะลาดวง อายุ ๕๐ ปี
อายุราชการ ๑๒ ปี ๒ เดือน ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัดหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ๙๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
รหัสไปรษณีย์ ๔๘๐๐๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๔๒-๖๑๑๘๒๔ โทรสาร ๐๔๒-๖๑๑๘๒๔ โทรศัพท์มือถือ ๐๘๒-๓๐๓๓๗๕๑
ผลงานที่โดดเด่น หรือ Best Practice ของการนำค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ไปใช้ในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจและกิจกรรมตามยุทธศาสตร์และการดำรงชีวิต มีอะไรบ้าง
๑. การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงต้นแบบ ได้รับรางวัลชนะเลิศ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็น เป็นสุข” จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่มาตรฐาน SSG ได้รับรางวัลชนะเลิศกลุ่มองค์กรแกนนำในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
๓. การพัฒนาศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลดงมอน (ศอช.ต.ดงมอน) ได้รับรางวัลชนะเลิศเครือข่ายองค์การชุมชนดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
การกำหนดรูปแบบหรือวิธีการปฏิบัติงานโดยการนำค่านิยมองค์การไปใช้ให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัด
๑. ศึกษา สร้างความรู้ ความเข้าใจ ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P และแนวทางการดำเนินงาน
๒. จัดทำแผนปฏิบัติงานในการนำค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P มาปรับใช้ในการส่งเสริมและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
๓. ดำเนินการแผนปฏิบัติการ
๔. สรุปบทเรียนและทบทวนการทำงานและขับเคลื่อน ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P
๕. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานผ่านช่องทางต่างๆ
ผลงานที่เกิดจากการนำค่านิยมองค์การไปใช้ในการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์และโดดเด่น และได้รับการยอมรับ
๑. การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงต้นแบบ จนได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัดซึ่งจะได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒. การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่มาตรฐาน SSG
๓. การพัฒนาศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลดงมอน (ศอช.ต.ดงมอน)
๔. การดำเนินงานโครงการตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
ผลสำเร็จของการนำค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ไปใช้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ในเรื่องใดบ้าง
๑. การดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน และกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
๒. กิจกรรมพัฒนาชุมชนใสสะอาด ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ


ลงชื่อ คน พช. ต้นแบบ
(นายวีระ มะลาดวง)
๑๕ /มิถุนายน /๒๕๕๙

คำชี้แจง
การนำเสนอผลงานการนำค่านิยมองค์การไปใช้ในการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนงานตามภารกิจและยุทธศาสตร์
กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙

๑. การมอบรางวัล “คน พช.ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ นี้ จะพิจารณาจากบุคลากรในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน ที่มีผลงานการนำค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ไปใช้ในการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนงานตามภารกิจและยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ให้บรรลุเป้าหมายดีเด่น
ซึ่งกำหนดรางวัลเป็นโล่รางวัล คน พช. ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๒๐ รางวัล (ส่วนภูมิภาคคัดเลือกเขตตรวจราชการละ ๑ คน ส่วนกลาง ๒ คน)
๒. การนำเสนอผลการดำเนินงาน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น คน พช. ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน ให้สมัครในนามบุคคล และให้หัวหน้าหน่วยงานระดับจังหวัด/ส่วนกลาง เป็นผู้รับรองผลการดำเนินงาน
๓. ให้จัดทำผลการดำเนินงานตามแบบฟอร์มและข้อคำถามที่กรมฯ กำหนด (สามารถเพิ่มเติมหน้ากระดาษได้ตามความเหมาะสม ในกรณีมีข้อมูลที่จำเป็นต้องอ้างอิง) พร้อมเอกสารประกอบการประเมินให้กรมการพัฒนาชุมชน ภายในระยะเวลาที่กรมฯ กำหนด (๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙)
๔. กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดมอบโล่รางวัลแก่บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเป็น “คน พช. ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในไตรมาส ๔ (เดือนกันยายน ๒๕๕๙)
๕. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมการพัฒนาชุมชน ที่ www.cddadg.cdd.go.th

๑. ข้อมูลทั่วไป

๑.๑ ชื่อ – สกุล นายวีระ มะลาดวง
๑.๒ อายุ ๕๐ ปี อายุราชการ ๑๒ ปี ๒ เดือน
๑.๓ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

๒. ผลงานการใช้และส่งเสริมการใช้ค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙

แนวทางการเขียนรายงาน ให้นำเสนอผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ของการส่งเสริมค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P
๒.๑ เหตุผล / แนวคิดในการนำค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ไปใช้ในการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนงาน คืออะไร
กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดค่านิยมองค์การ ABC DEF S&P โดยมุ่งหวังให้ค่านิยมองค์การเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างองค์กรให้เกิดเอกลักษณ์ที่โดดเด่นขององค์กร และการพัฒนาทรัพยากรขององค์กรให้มีขีดความสามารถ มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข มีวัฒนธรรมการทำงาน และวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดค่านิยมขององค์การไว้ คือ ABC DEF และ S&P ซึ่งประกอบด้วย A : Appreciation ชื่นชม หมายถึง การตระหนัก เข้าใจ ชื่นชมยินดี ยอมรับนับถือ ยกย่องให้ เกียรติในคุณค่า และความสำคัญของผู้อื่น B : Bravery กล้าหาญ หมายถึง ความกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่ออันตรายหรือความยากลำบาก หรือสถานการณ์ยุ่งยากไม่สบายใจ C : Creativity สร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ด้วย ความคิดของตัวเองที่ไม่ธรรมดา D : Discovery ใฝ่รู้ หมายถึง การใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสาร ความรู้ สถานที่ และวัตถุต่างๆ เป็นครั้งแรก E : Empathy เข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด หรือ ประสบการณ์ของผู้อื่น “โดยการเอาใจเราไปใส่ใจเขา” จินตนาการว่า หากอยู่ในสถานการณ์นั้นจะเป็นเช่นไร F : Facilitation เอื้ออำนวย หมายถึง การทำให้ง่าย การทำให้งานนั้นเป็นไปได้ การเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่นทำงานในวิถีทางที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง S : Simplify คิดให้ง่าย ชัดเจน หมายถึง การวางแผนออกแบบ ค้นหาวิธีการดำเนินงานที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน ทั้งในด้านแนวคิดและเทคนิควิชาการ P : Practical สามารถทำได้จริง หมายถึง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แก้ปัญหาให้กับประชาชนได้จริง บรรลุเป้าหมายจริง
เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามวิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” ทำงานอย่างมีคุณภาพ มีความสุข มีวัฒนธรรมการทำงาน และวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีเป็นที่ยอมรับของประชาชน และหน่วยงานภาคีจึงได้นำแนวคิดค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S& มาใช้ในการดำรงชีวิตและขับเคลื่อนงาน

๒.๒ มีการกำหนดแผนการทำงานโดยใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานอย่างไร
(ระบุวิธีการ/ตัวอย่าง พร้อมแนบเอกสารประกอบ)
๑. ศึกษารายละเอียดของค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ว่ามีแนวทาง หรือรายละเอียดอย่างไร
๒. ทีมนำแผนยุทธศาสตร์และกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชนมาวิเคราะห์ร่วมกับ ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P เพื่อออกแบบกิจกรรม
๓. กำหนดแผนการทำงานในการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ใช้ค่านิยมเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน
๔. ดำเนินการตามแผนการทำงาน
๕. สรุปผลการขับเคลื่อนและรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ

๒.๓ ผลงานที่โดดเด่น หรือ Best Practice ของการทำงานโดยใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงาน มีอะไรบ้าง (ระบุวิธีการ/ตัวอย่าง และแนบเอกสารประกอบ)
๑. การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้รับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๕๙ ได้ใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ดังนี้
๑.๑ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับชุมชน โดยอันดับแรกคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน มีการยกมือไหว้ ทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน เปิดใจชาวบ้านที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
๑.๒ การจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางปฏิบัติโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ซักถามประเด็นข้อสงสัย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหมู่บ้าน และค้นหาอาสาสมัครแกนนำครัวเรือนต้นแบบ
๑.๓ ให้การศึกษาและให้ความรู้ ตลอดจนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ครัวเรือนต้นแบบโดยการฝึกอบรม และนำเทคนิคกระบวนการกลุ่ม เทคนิค AIC/FSC มาใช้ในการฝึกอบรม เช่น การให้ชุมชนทบทวนอดีตของหมู่บ้านที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร จากนั้นก็ทบทวนปัจจุบัน และวาดภาพหมู่บ้านในฝันร่วมกัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มให้แต่ละกลุ่มสื่อความหมายหมู่บ้านในฝันออกมาเป็นภาพวาด จากนั้นใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันจัดทำแผนงานและกิจกรรมว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อให้หมู่บ้านของตนเองเป็นไปตามหมู่บ้านในฝันที่ทุกคนคาดหวัง โดยทำหน้าที่ในการเอื้ออำนวยให้ชุมชนเกิดกระบวนการคิด ร่วมทำซึ่งในจุดนี้จะต้องหาข้อมูลและองค์ความรู้ในการจัดกิจกรรม การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้คนในหมู่บ้านเกิดการเรียนรู้ นอกจากกระบวนการกลุ่มแล้ว การให้ความรู้ที่ดีคือการได้เห็นของจริง โดยจัดให้มีการศึกษาดูงานจากต้นแบบแล้วใช้กระบวนการกลุ่มในการถอดบทเรียนเพื่อนำองค์ความรู้นั้นมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองในลักษณะที่ว่าชุมชนมาร่วมกันกำหนดและออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินการ่วมกันเกิดเป็นกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน
๑.๔ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่หมู่บ้านได้ร่วมกันออกแบบว่าจะดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างในชุมชน เช่น การทำกระถางปลูกผักจากยางรถยนต์เก่า การทำสบู่สมุนไพร การทำสารไล่แมลงจากหางไหล เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เราได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ ประสานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองมุกดาหาร สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองมุกดาหาร กศน.อำเภอเมืองมุกดาหาร รพสต.ดงมอน รร.ดงมอนวิทยาคม ธกส.สาขาผึ่งแดด และเทศบาลตำบลดงมอนบูรณาการกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้าน
๑.๕ สรุปบทเรียนการดำเนินงาน และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติหลังจากการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงไประยะหนึ่ง จะมีการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อเป็นการทบทวนการทำงานว่าเกิดประโยชน์อย่างไรต่อชุมชน และมีการมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน อาทิเช่น มอบใบประกาศแก่ครัวเรือนต้นแบบ ใบประกาศแก่หัวหน้าคุ้ม เป็นต้น พร้อมกับขยายผลให้หมู่บ้านอื่นโดยการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนให้หมู่บ้านอื่นได้รับทราบ
๒. การพัฒนาศักยภาพศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลดงมอน(ศอช.ต.ดงมอน) ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทเครือข่ายองค์การชุมชนดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๕๙ ได้ใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลดงมอน(ศอช.ต.ดงมอน) ดังนี้
๒.๑ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับชุมชน โดยอันดับแรกคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน มีการยกมือไหว้ ทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน เปิดใจชาวบ้านที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
๒.๒ การจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลดงมอน(ศอช.ต.ดงมอน) แนวทางปฏิบัติโดยเปิดโอกาสให้คณะกรรมการ สมาชิกได้ซักถามประเด็นข้อสงสัย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน และร่วมกันพิจารณาปรับปรุงคัดเลือกคณะกรรมการให้เป็นปัจจุบันสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
๒.๓ ร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพ ศอช.ต.ดงมอน ค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา โอกาสในการพัฒนา ศอช.ต.ดงมอนให้สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิก กำหนดแผนการดำเนินงานของศอช.ต.ดงมอน
๒.๔ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ ศอช.ต.ดงมอน ได้ร่วมกันออกแบบว่าจะดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างในตำบล เช่น การพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลดงมอนโดย ศอช.ต.ดงมอน ได้สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานรวมกลุ่มผู้ปลูกยางพาราจัดตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกยางพาราเพื่อเป็นแหล่งรับซื้อยางจากเกษตรกรให้ราคาที่ดี ปรับปรุงก่อสร้างลานตากผลิตผลทางการเกษตร ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการอนุรักษ์และปลูกป่าชุมชน ประสานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองมุกดาหาร สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองมุกดาหาร กศน.อำเภอเมืองมุกดาหาร รพสต.ดงมอน รร.ดงมอนวิทยาคม ธกส.สาขาผึ่งแดด และเทศบาลตำบลดงมอนบูรณาการกิจกรรมร่วมกัน
๒.๕ สรุปบทเรียนการดำเนินงาน จะมีการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อเป็นการทบทวนการทำงานว่าเกิดประโยชน์อย่างไรต่อชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานในช่องทางต่างๆ
๓. การพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือสู่มาตรฐาน SSG ได้รับรางวัลชนะเลิศกลุ่มองค์กรแกนนำในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๕๙ ได้ใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่มาตรฐาน SSG ดังนี้
๓.๑ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับชุมชน โดยอันดับแรกคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน มีการยกมือไหว้ ทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน เปิดใจชาวบ้านที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
๓.๒ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหารจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงแนวการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่มาตรฐาน SSG โดยเปิดโอกาสให้คณะกรรมการ สมาชิกได้ซักถามประเด็นข้อสงสัย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน และร่วมกันพิจารณาปรับปรุงคัดเลือกคณะกรรมการให้เป็นปัจจุบันสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
๓.๓ ร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ ค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา โอกาสในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ ประเมินผลการดำเนินงาน ศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโนนสวรรค์ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร สรุปบทเรียนจากการศึกษาดูงานนำมาพัฒนากลุ่มออมทรัพย์ จัดทำแผนการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ
๓.๔ ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ ได้ร่วมกันออกแบบว่าจะดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์มีประสิทธิภาพ เช่น ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับให้สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิก การจัดทำบัญชี การบริหารจัดการ การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชน
๓.๕ สรุปบทเรียนการดำเนินงาน จะมีการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อเป็นการทบทวนการทำงานว่าเกิดประโยชน์อย่างไรต่อชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานในช่องทางต่างๆ
๔. การดำเนินโครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มได้ ซึ่งได้ทำการเปิดตลาดนัดชุมชนบ้านสามขา หมู่ที่ ๑๔ ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ ได้ใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่มาตรฐาน SSG ดังนี้
๔.๑ สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับชุมชน โดยอันดับแรกคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน มีการยกมือไหว้ ทักทายด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน เปิดใจชาวบ้านที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
๔.๒ ประสานหน่วยงานภาคี ประชาชน ผู้จำหน่ายสินค้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงแนวการดำเนินงานโครงการตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มได้ กำหนดแผนการพัฒนาและเปิดตลาดนัดชุมชนบ้านสามขา หมู่ที่ ๑๔ ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
๔.๓ ร่วมกับเทศบาลตำบลคำป่าหลาย หน่วยงานภาคีดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เพื่อทำการเปิดตลาดนัดชุมชนบ้านสามขา โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดมุกดาหารมาเป็นประธานในพิธีเปิดตลาดนัดชุมชนบ้านสามขา เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
๔.๕ สรุปบทเรียนการดำเนินงาน จะมีการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อเป็นการทบทวนการทำงานว่าเกิดประโยชน์อย่างไรต่อชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานในช่องทางต่างๆ

๒.๔ นวัตกรรมที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงานตามข้อ ๒.๓ คืออะไรบ้าง (แนบเอกสารประกอบ)
รูปแบบกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และการใช้หางไหลไล่แมลงเป็นการนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ ซึ่งเป็นการทำง่ายๆ เพียงนำใบหางไหลมาทุบแล้วนำไปแช่น้ำในถังหมักไว้ ๗ วันสามารถนำไปใช้เป็นสารไล่แมลง เพลี้ยต่างๆ ได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีเป็นการลดรายจ่ายในการประกอบอาชีพ แต่มีข้อควรระวังคือไม่ควรนำไปใช้กับข้าวหรือพืชที่อยู่ในน้ำเพราะจะทำให้สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาตายได้
๒.๕ การใช้และส่งเสริมการใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ก่อให้เกิดผลดีแก่ตนเอง แก่หน่วยงาน และเป็นต้นแบบแก่เพื่อนร่วมงาน ในเรื่องใดบ้าง
การใช้และส่งเสริมการใช้ค่านิยมองค์การ ABC DEF และ S&P ก่อให้เกิดผลดีแก่ตนเอง แก่หน่วยงาน และเป็นต้นแบบแก่เพื่อนร่วมงาน ดังนี้
๑. หน่วยงานมีบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นที่น่านับถือ ศรัทธาและรักใคร่ของส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่
๒. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ทีมงานมีความรักใคร่สามัคคีกัน
๓. มีบรรยากาศของการทำงานเป็นทีมเอื้ออำนวย ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
๔. มีการนำนวัตกรรมและความรู้ใหม่มาใช้ในการทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมงาน บรรลุ เป้าหมายของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่ระบุไว้ในใบสมัครนี้เป็นความจริงและครบถ้วน

ข้าพเจ้าทราบดีว่า หากระบุข้อมูลหรือส่งเอกสารที่ผิดจากความเป็นจริง จะเป็นสาเหตุให้ถูกตัดสิทธิ์ในการได้รับการประเมินเพื่อรับรางวัล “คน พช. ต้นแบบ การส่งเสริมค่านิยมองค์การ กรมการพัฒนาชุมชน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ และข้าพเจ้ายอมรับการตัดสินของคณะกรรมการว่าถือเป็นที่สิ้นสุด


ลงชื่อ ..................................................................
(นายวีระ มะลาดวง)
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
๑๕/มิถุนายน/๒๕๕๙

ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่ระบุไว้ในแบบเสนอผลงานของ (นาย/นาง/นางสาว) วีระ มะลาดวง
นี้เป็นความจริงทุกประการ

ลงชื่อ ..................................................................
(..................................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
....................../................./.................

เอกสารประกอบ

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านจอมณีเหนือ
บ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ ๖ ตำบลดงมอน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีผลการพัฒนาหมู่บ้านตามตัวชี้วัดการการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ดังนี้
ด้านจิตใจและสังคม
๑.ประชาชนมีความสามัคคีและความร่วมมืออันดีระหว่างกัน มีกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
๑.๑ การประชุม/การจัดเวทีประชาคม
- การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
- การจัดประชาคมที่สำคัญ เช่น
๑) เรื่องการปรับปรุงทบทวนแผนชุมชน
๒) เรื่องการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้าน
๓) เรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔) เรื่องการจัดกิจกรรมงานบุญผ้าป่าวัดป่าธรรมณีธรรม
๕) เรื่องการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖) เรื่องการเตรียมการประกวดคัดสรรกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น
๗) เรื่องการเตรียมการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนวัดอรัญญิกาวาส
๘) เรื่องการดำเนินโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี
๑.๒ ในรอบปี มีกิจกรรมที่จัดเพื่อส่วนรวมในหมู่บ้านตามแนวทางชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี คือ
๑) กิจกรรมพัฒนาสิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้านเช่นทำความสะอาดถนน แหล่งน้ำ การตัดแต่งต้นไม้ การทำรั้วบ้าน การทำความสะอาดศาลาประชาคม
๒) กิจกรรมการพัฒนาและซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลาวัด ศาลาประชาคม ถนน
๓) กิจกรรมการปลูกป่าปีละ ๒ ครั้ง (๑๒ สิงหาคม และ ๕ ธันวาคม) การพัฒนาแหล่งน้ำ


๒. หมู่บ้านมีข้อตกลงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน
ชุมชนมีวิธีการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการสืบทอดและรักษาจารีตประเพณีเพื่อความสงบสุขชุมชนมี ข้อปฏิบัติ เรียกว่า กฎระเบียบของหมู่บ้านข้อบังคับตามติประชาคมหมู่บ้าน
๑. ผู้ใดยิงปืนโดยไม่มีสาเหตุอันควรปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๒. ผู้ใดลักเล็กขโมยน้อยทรัพย์สินอันมีค่าของผู้อื่นปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๓. ผู้ใดก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือก่อความวุ่นวายในหมู่บ้านปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๔. ผู้ใดวางเพลิงโดยเจตนาหรือประมาทอันทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นหรือที่สาธารณะเกิดความเสียหายปรับ ๒๐๐ บาท
ขึ้นไป หรือตามความเหมาะสม
๕.ผู้ใดขับขี่ยานพาหนะอันเป็นที่หวาดเสียวในหมู่บ้าน หรือและส่งเสียงรบกวนฝ่าฝืนปรับครั้งละ ๕๐-๑๐๐ บาทขึ้นไป
๖. ผู้ใดปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
หรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตามความเหมาะสมแห่งกรณีและ หรือเหตุ
๗. ผู้ใดเล่นการพนันในหมู่บ้านปรับคนละ ๑๐๐-๕๐๐ บาทขึ้นไป
๘. ผู้ใดมั่วสุมหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกชนิดใน
หมู่บ้าน สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ส่วนบุคคล
๘.๑ ว่ากล่าวตักเตือนถ้าไม่ฟังปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
ถ้าทำอีกดำเนินการตามข้อ ๘.๒
๘.๒ แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
๙. ผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการประชุมหรือไม่ร่วมกิจกรรม
ในหมู่บ้านติดต่อกัน ๓ ครั้ง จะไม่นำมาพิจารณาให้การสงเคราะห์จากภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆปล่อยสัตว์เลี้ยงไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของผู้อื่นได้รับความเสียหายปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไปหรือตามแต่คู่กรณีตกลงเรียกร้องตามความเหมาะสมแห่งกรณีและหรือเหตุ
๑๐.บุคคลใด หรือครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือเข้าร่วมน้อยกว่า ๖ ครั้งต่อปีจะไม่ให้กู้ยืมเงินกองทุนต่างๆของหมู่บ้าน
๑๑.การใช้สถานที่ในศาลาประชาคมในการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนต้องเสียค่าบำรุงสถานที่ครั้งละ ๒๐๐ บาท/วัน
๑๒.ผู้ใดลักลอบจับสัตว์น้ำทั้งในฤดูวางไข่หรือนอกฤดูก็ตามในหนองน้ำสาธารณะ เช่น หนองหัวคำ หนองป่ง หนองกกบก
๑๒.๑ ถ้าจับโดยที่ไม่มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงว่ากล่าวตักเตือนก่อน
๑๒.๒ ถ้าใช้ไฟฟ้าช็อตใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง การใช้สารเคมีหรือสารพิษจากพืชก็ตามเพื่อจับสัตว์น้ำ ปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไปและจับดำเนินคดีตามกฎหมาย
๑๓. ห้ามตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกแผ้วถางป่า ป่าสาธารณะ ป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๑ ห้ามจุดไฟเผาป่า หรือล่าสัตว์ในกรณีใดก็ตามที่ทำให้เกิดเชื้อเพลิงที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดไฟไหม้ปรับ ๕๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๒ ในกรณีเข้าไปในป่าชุมชน เพื่อหาของป่า เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักหวาน มาประกอบอาหาร ห้ามถือเลื่อย ขวาน เข้าไปในป่าโดยเด็ดขาด
๑๓.๓ ห้ามนำพืชสมุนไพร กล้วยไม้ และสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติออกมาเพื่อครอบครองโดยเด็ดขาดฝ่าฝืนปรับ ๑๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๔ ห้ามบุคคลใดๆที่ไม่ใช่บุคคลในหมู่บ้านเข้าไปหาผลประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชนโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๑๓.๕ กรณีบุคคลภายนอกหมู่บ้าน นอกพื้นที่จะเข้าหาผลประโยชน์จากป่าชุมชน เช่น เก็บเห็ด หน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น ต้องเสียค่าธรรมเนียม ๑๐ บาทต่อครั้งต่อคน
๑๓.๖ คนในหมู่บ้านสามารถเข้าไปหาผลประโยชน์จากป่าชุมชนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น หาเห็ด หาหน่อไม้ ผักหวาน เป็นต้น โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
๑๓.๗ ในกรณีที่จะเข้าไปหาไม้ฟืนนำมาเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหาร สามารถทำได้เฉพาะไม้ที่ตายแล้วและเป็นไม้แห้งเท่านั้น
๑๔. ห้ามทิ้งขยะในบริเวณที่สาธารณะ หรือที่ชุมชน ฝ่าฝืนปรับ ๒๐๐ บาทขึ้นไป
๑๕. ห้ามเลี้ยงสัตว์จนก่อให้เกิดมลภาวะต่อชุมชน เช่น ส่งกลิ่นรบกวนต่อชุมชนจนเป็นที่เดือดร้อนในขั้นต้นจะแนะนำแนวทางการปฏิบัติก่อน-ว่ากล่าวตักเตือน-ถ้ายังไม่แก้ไขปรับ ๒๐๐ บาทต่อวัน
๑๖. ห้ามดื่มสุรา หรืออบายมุขต่างๆ ในวัดและงานศพ ฝ่าฝืนปรับ ๕๐๐ บาทต่อครั้งต่อคน
ใช้หลักการประชาคมหมู่บ้าน เสนอข้อคิดเห็น ข้อตกลง แล้วจึงประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อปฏิบัติ หรือการสร้างความเข้าใจกับสมาชิกในหมู่บ้าน โดยการจัดทำป้ายถาวรประกาศไว้ในที่ชุมชนจำนวน ๑ ป้าย
๓. หมู่บ้าน มีกองทุนเพื่อสวัสดิการของชุมชนเพื่อให้บริการแก่สมาชิกดังนี้
๓.๑ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน/ตำบล โดยร่วมกับบ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ ๖ หมู่บ้านจัดเก็บจากสมาชิกละ ๑๐ บาท/ศพ รวมค่าสงเคราะห์ครั้งละ ๑๐,๕๐๐ บาท
๓.๒ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบ้านจอมณีเหนือ มีสมาชิก ๑๑๗ คน เงิน กองทุน ๒,๒๘๒,๐๐๐ บาทจัดสรรเป็นเงิน สวัสดิการ ๕ ‰ เสียชีวิต ๕๐๐ บาท สงเคราะห์ผู้สูงอายุ และคนพิการ ทุนการศึกษาเด็กนักเรียน โดยสามารถสรุปผลการช่วยเหลือปีล่าสุด ดังนี้
๑) คลอดบุตร ๕๐๐ บาท
๒) เงินขวัญถุงเด็กแรกเกิด ๓๐๐ บาท
๓) เข้ารักษาพยาบาล (นอน ๓ คืนขึ้นไป) ปีละ ๕๐๐ บาท
๔) ช่วยเหลืองานศพ ๑,๐๐๐ บาท
๕) พวงหรีดงานศพ ๓๐๐ บาท
๖) ทุนการศึกษา (เรียนดี ป.๑-๖) ทุนละ ๒๐๐ บาท
๗) ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๘) รางวัลสมาชิกผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๙) ช่วยเหลือสมาชิกทีผู้สูงอายุที่สุดในแต่ละปี (พิจารณาเป็นครั้งคราว)
๑๐) รางวัลสมาชิกที่ส่งเงินสัจจะ + ชำระคืน ตรงตามกำหนด (เป็นเงินสด)
๑๑) คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า (ระเบียบ) กำหนด ดังนี้
- สมาชิกที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ (รายปี)
- สมาชิกที่ชำระเงินคืนตรงตามกำหนด (๒ ปี ติดต่อกัน)
๔. หมู่บ้านยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
๔.๑ การจัดเวทีประชาคมมีตัวแทนคนในครัวเรือนเข้าร่วมเวทีประมาณร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่อยู่จริงในหมู่บ้านมีวิธีการเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อหามติ ข้อตกลงในการดำเนินงานให้เสียงส่วนมากเป็นที่ยอมรับ ต้องฟังเหตุผลจากเสียงส่วนน้อยด้วย
๔.๒ นำมติ ข้อตกลง ที่ประชุม ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบ
๔.๓ การสื่อสารให้ประชาชนในชุมชนรับทราบผลการประชุมโดยตัวแทนคุ้มขยายผล
๔.๔ คนในหมู่บ้านที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๓๔๑ คน ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหลังสุด ๓๑๗ คน ร้อยละ ๙๓
๕. หมู่บ้าน มีหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิตร่วมกัน
๕.๑ คนในหมู่บ้าน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทุกวันพระ

๕.๒ คนในหมู่บ้านปฏิบัติต่อกันด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงกิริยาต่อกันตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่น การไหว้ การขอโทษ การขอบคุณและอื่นๆ การช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน
๕.๓ คนในครัวเรือนมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูลยกย่องให้เกียรติลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นชัดเจน เช่น
การเคารพปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดาผู้อาวุโส ของชุมชน

๖. คนในครอบครัวมีความอบอุ่น ชุมชนมีความปลอดภัย
๖.๑ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด มีกิจกรรมการจัดการกับปัญหายาเสพติดโดยการรณรงค์ให้ความแก่กลุ่มเยาวชน
การทำป้ายการอบรมครอบครัวพัฒนา การจัดกิจกรรมป้องกันในโรงเรียน การอยู่เวรยามในชุมชน และ
เป็นหมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด
๖.๒ ในรอบปี หมู่บ้านมีกระบวนการส่งเสริมการ ลดละ เลิกอบายมุข กิจกรรมการ
ส่งเสริมการลดละ เลิกเช่น กิจกรรมงดเหล้าในงานศพโครงการธรรมสัญจรป้ายรณรงค์
๖.๓ คนในหมู่บ้านไม่ติดสุรา ผ่านเกณฑ์ จปฐ.ข้อ ๒๖ ร้อยละ ๑๐๐
๖.๔ คนในหมู่บ้านไม่สูบบุหรี่ร้อยละ ๙๐ (ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ ๒๕)
๖.๕ คนในหมู่บ้านไม่ติดการพนัน ๑๐๐ %
๖.๖ กิจกรรมส่งเสริมการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นการจัดกิจกรรมวันกตัญญู กิจกรรมครอบครัวพัฒนา
๗. คนในหมู่บ้านมีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๗.๑ คนในหมู่บ้านได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
๗.๒ หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่คนในหมู่บ้าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเอง
๗.๓ ในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน ด้วยการเริ่มด้วยการทำบัญชี รับ-จ่าย ในครัวเรือน ทุกครัวเรือนทำให้ได้รู้ตัวเอง จึงเริ่มด้วนกิจกรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน กิจกรรมตรวจสอบการใช้จ่ายประจำวันและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
๒. กิจกรรมเพิ่มรายได้ เช่น การแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุน
การผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง
๓. กิจกรรมการประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๔. กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยการปลูกผักสวนครัวในกระถางยางรถยนต์เก่า การทำสบู่สมุนไพร การใช้หางไหล ทะลายปาล์มมาทำเป็นกะบองไล่ยุง

๕. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ
๖. การแบ่งปัน เอื้ออารี ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน สละสิ่งของแบ่งปัน เช่น พืชผักสวนครัวของใช้ในครัวเรือน อาหาร ครัวชุมชน สวัสดิการจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ร้อยละ ๑๐ กองทุนหมู่บ้านร้อยละ ๑๐
ด้านเศรษฐกิจ
๘. ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
กิจกรรมการส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย
๑. อบรมให้ความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน
๒. สนับสนุนเอกสารบัญชีครัวเรือนและจัดทำบัญชีครัวเรือคิดเป็น ร้อยละ ๘๐
๙. หมู่บ้านมีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้
๑. ครัวเรือนในหมู่บ้าน มีกิจกรรมเพื่อการลดรายจ่าย ในชีวิตประจำวัน เช่น การสมุนไพรในหมู่บ้าน แปรรูปทำเป็นสบู่สมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างราคา จำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวได้ การทำน้ำยา ล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้ในครัวเรือน
๒. ครัวเรือนมีการผลิตและการอุปโภค/บริโภคเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ครัวเรือนทำ
๑) อาชีพหลักที่ทำประจำทำนา ทำสวนยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย
๒) อาชีพเสริมที่ทำปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
๓) การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง
๔) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
๕) ครัวเรือนมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลูก
๑๐. หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพหลักของหมู่บ้าน
๑. คนในครัวเรือนร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน
๒. กลุ่ม/องค์กรในหมู่บ้าน/ชุมชนมีการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพ และมีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ลักษณะกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๑. เป็นแหล่งศึกษาดูงาน
๒. เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้หมู่บ้านอื่น ๆ
๑๑. หมู่บ้าน มีการออมหลากหลายรูปแบบ
๑. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน ร้อยละ ๙๐ของครัวเรือนทั้งหมด
๒. หมู่บ้าน/ชุมชนมีกลุ่มออมทรัพย์และ/หรือกองทุนการเงินอื่นๆ คือ
๑) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิกจำนวน ๑๑๗ คน จัดตั้งเมื่อปี ๒๕๒๕ มีนายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีกิจกรรมการออมเงินและปล่อยเงินกู้เพื่อการเกษตร มีเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท
๒) กองทุนหมู่บ้าน มีสมาชิกจำนวน ๑๑๒ คน จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีนายสมบูรณ์ เหง่าโอสา เป็นประธาน มีกิจกรรมการปล่อยกู้เงิน การรับฝาก
๓) ศูนย์สาธิตการตลาด นายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค อุปกรณ์ทางการเกษตร
๑๒. หมู่บ้านมีการดำเนินการสร้างรายได้ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน
หมู่บ้าน/ชุมชนมีจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านจอมณีเหนือ หมูที่ ๖ ตำบลดงมอน มีนายไสว บุญเลิศ เป็นประธาน มีสมาชิก ๑๑๗ คน มีกิจกรรมการออมเงิน ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ กลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นายทำนาย ภาคภูมิ เป็นประธาน สมาชิกจำนวน ๑๔ คน กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน/ควบคุมโรคเบื้องต้น กำจัดลูกน้ำยุงลาย การตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนการตรวจมะเร็งเต้านม ฯลฯ กลุ่มทอผ้านางดอน ตะดวงดีเป็นประธาน สมาชิกจำนวน ๑๐ คน กิจกรรมทอผ้าพื้นเมืองเพื่อใช้และจำหน่าย สร้างรายได้แก่ครอบครัว กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก นางวรุณจิตร ศิริกาล กิจกรรมสานตะกร้าพลาสติกใช้และจำหน่ายเพิ่มรายได้ ซึ่งทุกกลุ่มมีการบริหารกิจกรรมกลุ่มเป็นการบริหารในรูปแบบคณะกรรมการ แบ่งงานทำ ตามบทบาทหน้าที่เน้นการช่วยเหลือสมาชิกที่มีรายได้น้อยอาศัยระเบียบ เป็นข้อกำหนดในการบริหาร ระดมหุ้นและแบ่งปันผลกำไรให้สมาชิกและชุมชน
ด้านการเรียนรู้
๑๓. หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน
ข้อมูลของหมู่บ้าน เช่น จปฐ. กชช ๒ ค บัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลที่หมู่บ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชนครบทุกขั้นตอน ดังนี้
- มีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจฯ กิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการจัดประชาคมชี้แจงสร้างความเข้าใจ
- จัดเก็บโดยอาสาสมัครการมอบหมายให้ อช. ผู้นำ อช. อสม. ผู้นำคุ้ม ชุมชน จัดเก็บ
- บันทึก/ประมวลผลกิจกรรมที่ปฏิบัติและหลักฐานการปฏิบัติ การบันทึกข้อมูลที่ ทต. ดงมอน
- การประชาคมเพื่อรับรองผลกิจกรรมที่ปฏิบัติ
- จัดทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน
๑๔. หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน
๑. หมู่บ้านมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผนการพัฒนากลุ่ม/องค์กรนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเสนอเวทีประชาคม และหาแนวทางแก้ไข ร่วมกัน กำหนดแนวทางแผนงานโครงการและงบประมาณ กำหนดในแผนชุมชน
๒. หมู่บ้านสามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง
ตัวอย่างโครงการตามแผนชุมชน ปี ๒๕๕๙

ที่ กิจกรรม/โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ลักษณะกิจกรรม/โครงการ จำนวนงบประมาณ แหล่งที่มางบประมาณทำเอง ทำร่วม ทำให้
๑. การจัดทำบัญชีครัวเรือน ม.ค.  -
๒. เข้าวัดฟังธรรม ม.ค.-ธ.ค.  -
๓. การจัดเวรยามในชุมชน ม.ค.-ธ.ค.  ๒,๔๐๐ ชุมชน
๔. สร้างถนนคอนกรีต ม.ค.  ๑๒๐,๐๐๐ ชุมชน
๕. การแข่งขันกีฬาชุมชน เม.ย.  ๒๐,๐๐๐ ทต.ดงมอน
๖. การปรับแผนชุมชน มี.ค.  -
๗. จัดทำข้อมูลชุมชน มี.ค.  -
๘. ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน เม.ย.  ๑๔๐,๐๐๐ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ฯ
๙. ซ่อมแซมหนองป่ง เม.ย.  ๒๔๘,๐๐๐ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ฯ
๑๐. ปลูกป่าชุมชน เม.ย.  -
๑๑ กิจกรรมสร้างชุมชนเกื้อกูล
-กิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง
-ถนนสวย
-ครัวชุมชน
-ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน ม.ค.-ธ.ค.  ๑๒,๐๐๐ ชุมชน
๑๒ โครงการสร้างฝายแม้ว เม.ย.-ก.ย.  ๘๐,๐๐๐
รวมทั้งสิ้น ๑๒ กิจกรรม/โครงการ ๗ ๑ ๒ ๖๒๒,๔๐๐

๑๕. หมู่บ้านมีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมู่บ้านมีกระบวนการ สืบค้น รวบรวมจัดหมวดหมู่และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่นและใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า
วิธีการค้นหาความรู้และการจดบันทึก
๑) วางแผนการสืบค้นและบันทึก
๒) การเยี่ยมเยียน การนัดหมาย การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสรุปข้อมูล
๓) ตั้งคำถามสำหรับสัมภาษณ์
๔) สืบค้นข้อมูล
๕) บันทึกข้อมูล ประเมินข้อมูล สรุปข้อมูล จัดทำบทสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสืบค้น
วิธีการสืบทอดและการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง
๑. แบบในครอบครัว จากพ่อ แม่สู่ลูก และแบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยเรียนรู้แบบทักษะ แบบลองผิดลองถูก
๒. แบบเพื่อนสอนเพื่อนภายในกลุ่มอาชีพ
๓.แบบที่จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบการฝึกอบรมที่หน่วยงานต่างๆ มีโครงการ หลักสูตร กำหนดการ และการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และฝึกประสบการณ์ตามตารางฝึกอบรม
วิธีการนำไปปรับใช้งาน
๔. นวัตกรรมหางไหลขับไล่แมลงศัตรูพืช
หางไหล เป็นพืชสมุนไพรซึ่งพบได้ทั่วไปในหมู่บ้านจอมมณีเหนือ และพื้นที่ตำบลดงมอน อำเภอเมืองมุกดาหาร และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพืชส่วนใหญ่เป็นพืชในท้องถิ่นสามารถปลูกและหาได้ง่าย รวมทั้งมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมน้อยกว่าสารเคมี เนื่องจากมีการสลายตัวได้รวดเร็ว และมีคุณสมบัติในการเป็นสารขับไล่แมลงเป็นส่วนใหญ่
๑.การออกแบบผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร
๒.การประยุกต์เครื่องมือในการผลิต
กิจกรรมที่นำภูมิปัญญามาปรับใช้เพิ่มคุณค่าแก่ภูมิปัญญาคือ การทำสบู่สมุนไพร การใช้สมุนไพรไล่แมลง
๑๖. หมู่บ้านมีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้
๑. ครอบครัวพัฒนาต้นแบบต้นแบบ
๒. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกมะนาวนอกฤดู การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงวัวหลุม การใช้สมุนไพรไล่แมลงแทนสารเคมีและการเป็น Trader (นักขาย) ของชุมชน
๓. ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน แหล่งเรียนรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๔. ฐานการเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการเงินทุนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต แหล่งเรียนรู้เรื่องการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๕. แหล่งเรียนรู้ด้านยาสมุนไพร
๖. นวัตกรรม “หางไหล ขับไล่แมลงศัตรูพืช” ณ ครอบครัวพัฒนาต้นแบบ
๗. โครงการธนาคารโค กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ สมาชิกจำนวน ๑๖ คน สมาชิกยืมสัตว์รายละ ๑ ตัว โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลุ่ม และต้องทำสัญญายืมสัตว์กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร อายุสัญญายืม ๕ ปี ถ้าสัตว์ไม่ให้ลูกภายใน ๓ ปี ต้องแจ้งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเพื่อหาสาเหตุการไม่ให้ลูก เมื่อได้ลูกตัวที่ ๑ อายุ ๑๘ เดือน ให้ส่งลูกให้กับโครงการฯเมื่อครบ ๕ ปีจะมอบกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ยืมจำนวนสัตว์ลูกเกิดตัวที่ ๑ จำนวน ๘ ตัว ตัวผู้ ๔ ตัว ตัวเมีย ๔ ตัว คิดเป็นเงินทุน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ผลผลิต ๑๖๐,๐๐๐ บาท
๑๗. หมู่บ้านมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพของหมู่บ้าน หมู่บ้านมีกิจกรรมการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ โดยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้นคือ

๑. การฝึกอบรมเรื่องการตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนการตรวจมะเร็งเต้านม
๒. การฝึกอบรมทำดอกไม้จันทน์
๓. การฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
๔. การฝึกอบรมการทำและใช้สารไล่แมลงจากยาสูบ
๕. ฝึกอบรมการทำกระถางปลูกผักจากยางรถยนต์เก่า
๖. การฝึกอบรมการทำและใช้สารไล่ยุงจากทลายปาล์มและสมุนไพร
๗. โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามยุทศาสตร์ที่ ๑
ซึ่งคนในหมู่บ้านที่ได้เรียนรู้แล้วนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่า เพิ่มฝึกอบรมสบู่สมุนไพรจากโครงการ
ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
๑๘. หมู่บ้านมีการสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา หมู่บ้านมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม/เครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้านหน่วยงาน องค์กรสถาบันการศึกษาดังนี้
๑. ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล (ศอช.ต.)
๒. ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านจอมณีเหนือ แลกเปลี่ยน/เรียนรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓. เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลดงมอน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แลกเปลี่ยน/เรียนรู้เรื่อง การดำเนินงานกองทุน
๔. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านจอมณีเหนือ นายกีรติ ภาคภูมิ เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
๕. หมู่บ้านได้สมัครเข้าสู่การพัฒนาตนเองตามระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙
๑๙. หมู่บ้านมีการปฏิบัติตามหลักการของการพึ่งตนเอง
๑. หมู่บ้าน สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง ดังนี้
๑) การแก้ปัญหาในชุมชนโดยไม่ใช้งบประมาณ ปัญหาเรื่อง ขยะและสภาพแวดล้อมชุมชนโดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบบริเวณบ้านตัวเอง
๒) การแก้ปัญหาในชุมชนโดยไม่ใช้งบประมาณ ปัญหาเรื่อง การลดรายจ่าย โดยการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ มีการบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การวางแผนชีวิตและชุมชน
๒. หมู่บ้านมีการจัดทำแผนชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาของหมู่บ้าน มีดังนี้
๑) การเตรียมทีมงาน หาทีมงานในการสำรวจข้อมูล นำเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน ภาคีร่วมพัฒนาเป็นที่ปรึกษาชุมชน
๒) การสำรวจและรวบรวมข้อมูล
๓) การยกร่างแผนชุมชน
ทีมงานนำข้อมูลและข้อเสนอของชุมชน พิจารณารวบรวมและตรวจสอบประเภทของแผนงานและโครงการ โดยแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
- แผนชุมชนที่ชุมชนสามารถดำเนินการเอง
- แผนชุมชนที่ หน่วยราชการต้องเข้าไปช่วยดำเนินการร่วมกันชุมชน
- แผนชุมชนที่หน่วยราชการ /องค์กรภายนอกชุมชนเข้าไปดำเนินการให้
๔) การประชาพิจารณ์แผนชุมชน
ทีมงานนำร่างแผนชุมชน เข้าสู่เวทีประชาคมของคนในชุมชน เพื่อพิจารณาร่วมและตรวจสอบเพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
๕) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๐. หมู่บ้านมีจิตสำนึกของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้าน มีกิจกรรมให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้น คือ
๒๐.๑ การให้ความรู้โดยการอบรม
๑) การอบรมเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าอบรม ๓๕๐ คน
๒) การอบรมเรื่อง การทำดอกไม้จันทน์ ผู้เข้าอบรม ๕๐ คน
๓) การอบรมเรื่อง การใช้สารไล่แมลงจากยาสูบ ผู้เข้าอบรม ๓๐ คน
๔) การอบรมเครือข่ายป่าชุมชน ผู้เข้าอบรม ๑๐๐ คน
๔) การให้ความรู้โดยการจัดทำป้ายอื่น ๆ
๒๐.๒ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ
๒๐.๓ การประชุมอบรม สร้างจิตสำนึก
๒๐.๔ การกำหนดเขตอนุรักษ์ เช่น ป่าชุมชน หนองน้ำสาธารณประโยชน์หนองหัวคำ หนองป่ง หนองกกบก มีผลงานที่ปฏิบัติเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานราชการ/ผู้นำองค์กร/ประชาชน ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้รับรางวัลที่เป็นเกียรติประวัติแก่ชุมชนหลายรางวัล คือ
๑) รางวัลลูกโลกสีเขียว จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔
๒) รางวัลธงพระราชทานธง รสทป. ธงช้าง ๑ ตัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และธงช้าง ๒ ตัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
๓) รางวัลกล้าไม้ยิ้ม จากโรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๓
๔) รางวัลป่าชุมชนดีเด่น ภูหมากเค็ง ระดับจังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓
๒๑. หมู่บ้านมีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
-หมู่บ้านมีกลุ่มที่คนในหมู่บ้านร่วมกันทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย กับกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อการบริหารจัดการยึดหลักการมีส่วนร่วม กลุ่มคนรักป่า ป่ารักชุมชน มีนายไสว บุญเลิศ ประธานกรรมการ
-หมู่บ้านมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล
ข่าวสารมีการทำกิจกรรมร่วมกันของแต่ละกลุ่มทั้งในและนอกหมู่บ้านหรือชุมชน
กิจกรรมที่ทำ ข้อมูล /ข่าวสาร/ฝีมือ
ที่แลกเปลี่ยนเปลี่ยนเชื่อมโยงกัน หน่วยงาน กลุ่ม
บุคคลที่ร่วมงานกัน
๑.การปลูกป่าและดูแลป่าชุมชน การปลูกป่าและดูแลป่าชุมชน ป่าไม้,ทต. กม.
๒.การสร้างฝายชะลอน้ำ การสร้างฝายชะลอน้ำ ป่าไม้,ทต. กม.เยาวชน

๒๒. หมู่บ้านมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน
หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ สร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างพอประมาณ ในครัวเรือนสามารถดำเนินการได้เอง เช่น
๑. การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนหลอดเป็นหลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงาน ปรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมาก
๒. การลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง เช่น การเดิน การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางที่ระยะทางไม่ไกล
๓. การใช้สารไล่แมลงจากยาสูบ
๔. การทำยาไล่ยุงโดยใช้ทลายปาล์มและสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น หางไหล
๔. หมู่บ้านมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ดำเนินการ
๑) การปลูกป่าชุมชน เพิ่มมูลค่าของครัวชุมชน
๒) การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
๓) กลุ่มการแสดงดนตรีพื้นเมือง ดนตรีไทย กลุ่มดนตรีพื้นเมืองจากชาวบ้านจอมณีเหนือ มีนายไสว บุญเลิศเป็นประธาน
๔) การทำปุ๋ยชีวภาพ
๕) สบู่สมุนไพร
กลยุทธ์การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ ๖ ตำบลดงมอน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
๑. การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะการให้ภาคประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
๒. การวางระบบการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่
- การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด ๖ X ๒, สร้างกระแสความรู้ ความเข้าใจ
และความตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การพัฒนาผู้นำชุมชนตามหลักสูตรผู้นำการพัฒนา เพื่อเป็นแกนหลักการขับเคลื่อนชุมชน
เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
๓. ผู้นำหมู่บ้าน ชุมชนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยมีบุคคลสำคัญ (ที่ปรึกษา) ในชุมชนให้การสนับสนุน
๔. การคัดเลือกบุคคลต้นแบบด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
๕. การแบ่งคุ้มบ้าน เป็น ๑๑ คุ้ม โดยให้หัวหน้าคุ้มมีการกระจายข่าวสารหรือภารกิจของชุมชนไปดำเนินการ โดยเฉพาะการจัด “หน้าบ้าน น่ามอง” “หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน ในบ้านสะอาด”
๖. การยึดหลักการทำงานร่วมกันโดยไม่เน้นผลกำไรที่เป็นเงิน แต่เน้นให้เกิดกิจกรรมหรือการลงมือปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด/วิถีชีวิต เช่น การให้แต่ละบ้าน/ครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว หรือพืชสมุนไพร หรือให้ครัวเรือนต้องทำบัญชีครัวเรือนและมีการรวบรวมทุกเดือน เป็นต้น
๗. การใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในครัวเรือน
๘. การใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน
๙. การจัดให้มีการสืบค้นและสืบทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น ควบคู่กับการเปิดรับความรู้จากภายนอกชุมชน
๑๐. การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ในทุกมิติของชุมชน ทั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มทอผ้า กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสมุนไพร ธนาคารโค กระบือ เป็นต้น
๑๑. การจัดทำข้อตกลงและข้อปฏิบัติร่วมกันในชุมชน
๑๒. การสร้างค่านิยมความพอเพียงร่วมกัน คือ การผลิตสิ่งต่าง ๆ ในชุมชน เป็นไปเพื่อบริโภคหรือใช้สอยในครอบครัวและชุมชนเป็นเบื้องต้น เหลือจึงแบ่งปันหรือขายเป็นรายได้ หรือการสร้างค่านิยมใหม่ เช่น การงดเหล้าในงานศพ เป็นต้น
๑๓. การประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข”ของหมู่บ้าน หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ( GVH) คนในหมู่บ้านมีการประเมินความสุขมวลรวมเพื่อความ อยู่เย็น เป็นสุข แบบมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจ ในการประเมินความสุข มวลรวม คิดเป็นร้อยละ ๗๐ ใช้บัตรคำให้ค่าคะแนน ได้ค่าเฉลี่ย ๘๖ คะแนน คิดเป็น ๔.๒ %
๑๔. มีการสรุปบทเรียน สรุปความก้าวหน้าและประเมินความสำเร็จหรือจุดอ่อนในการพัฒนาชุมชน เพื่อกำหนดแผนหรือกิจกรรมพัฒนาในขั้นตอนต่อไป
กลไกในการขับเคลื่อน
๑. คณะกรรมการหมู่บ้านจอมณีเหนือ หมู่ที่ ๖ และผู้นำชุมชนระดับหมู่บ้าน / ตำบล
๒. ครอบครัวพัฒนา
๓. บุคคลต้นแบบในการพัฒนาหมู่บ้าน
๔. กรรมการคุ้ม
๕. คณะที่ปรึกษาที่อยู่ในชุมชน รวมถึงเทศบาลตำบลดงมอน
๖. ภาคราชการ/เอกชนผู้สนับสนุน อาทิ ธ.ก.ส. เกษตร สาธารณสุข ปศุสัตว์ กศน. โรงเรียนดงมอนวิทยาคม และพัฒนาชุมชน
ผลสำเร็จของการพัฒนา
๑. ประชาชนในบ้านจอมมณีเหนือ มีความมวลรวมชุมชนเพิ่มขึ้นจากการประเมินความสุขมวลรวม ครั้งที่ ๑ ได้ ๙๐ คะแนน ครั้งที่ ๒ ได้ ๙๕ คะแนน
๒. ประชาชนมีความสามัคคี มีความเกื้อกูลและเอื้ออารีย์ต่อกัน
๓. ประชาชนเกิดความภูมิใจ สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนอื่น/ผู้สนใจได้

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view