http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,772
เปิดเพจ51,763
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านสงเปือย ม.9 ต.บางทรายใหญ่

 

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

( Village  Development Report )

บ้านสงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลบางทรายใหญ่

    อำเภอเมืองมุกดาหาร   จังหวัดมุกดาหาร

 

ส่วนที่  1

สภาพทั่วไป

อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน

สงเปือยจุดชมวิวสะพานสวย แหล่งเศรษฐกิจดี มีผักปลอดสาร และปลาธรรมชาติคนรวยน้ำใจ อัธยาศัยดี

ที่ตั้ง        

              บ้านสงเปือย หมู่ที่ 9  ตำบลบางทรายใหญ่  อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร  ตั้งอยู่ถนนสายมุกดาหาร – นครพนม ห่างจากอำเภอเมืองมุกดาหาร ระยะทาง  6  กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

                   ทิศเหนือ ติดต่อกับ  บ้านบางทรายใหญ่ หมู่ที่2

                   ทิศใต้      ติดต่อกับ  ชุมชนนาโปใหญ่ (ชุมชนเมือง)

                   ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  แม่น้ำโขง

                   ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  บ้านคำผักหนอก หมู่ที่ 7

ประชากรของหมู่บ้าน

          จำนวนครัวเรือน 87 ครัวเรือน

มีประชากรทั้งหมด 214 คน เพศชาย 115 คน เพศหญิง  99 คน

  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันที่สำรวจ แยกตามช่วงอายุ

                (จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕9)

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

จำนวนเพศหญิง

จำนวนรวม

น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม

-

-

-

๑ ปีเต็ม  - ๒ ปี

2

2

4

๓ ปีเต็ม  - ๕ ปี

3

2

5

๖ ปีเต็ม  - ๑๑ ปี

7

3

10

๑๒ ปีเต็ม - ๑๔ ปี

5

2

7

๑5 ปีเต็ม - ๑๗ ปี

2

6

8

๑๘ ปีเต็ม - ๒๕ ปี

10

13

23

๒๖ ปีเต็ม - ๔๙ ปี

52

40

92

๕๐ ปีเต็ม - ๖๐ ปี

22

19

41

มากกว่า ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป

12

12

24

รวมทั้งหมด

115

9

214

 

ประวัติหมู่บ้าน

              เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2456  ประมาณ  106  ปี  มาแล้ว  คนกลุ่มแรกที่เข้ามาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านอพยพมาจากชาวบ้านนาโปใหญ่ หรือชุมชนนาโปใหญ่ในปัจจุบัน โดยการนำของ 3 ครอบครัว คือ นายชัย  อรรคศรี นายเขื่อง  คำแก้ว นายเลอ  อรรคศรี ได้อพยพครอบครัวมาทั้งหมดประมาณ  35 คน จากนั้นได้มีการขยายอาณาเขตที่อยู่อาศัย จำนวนครอบครัวและประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   จนเกิดเป็นชุมชนขนาดเล็กและเป็นหมู่บ้านในเวลาต่อมา  โดยมีชื่อว่าบ้านสงเปือย  

              หมู่บ้านสงเปือย  หมู่ที่ 9  ได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านรวม 7   คน

เรียงตามลำดับ  คือ

             1.  นายเมือง  อรรคศรี

             2.  นายนายรินทร์  อรรคศรี

             3.  นายวัง  อรรคศรี

             4.  นายอุทัย  อรรคศรี

             5.  นายวัฒนา  ภาคี

             6.  นางอรพรรค์  คำปัน 

             7. นายวัฒนา  ภาคี   คนปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

             สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบ้านสงเปือย เป็นที่ราบ ล้อมรอบด้วยที่นาของชาวบ้านและมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน  เดิมทีมีสภาพเป็นป่ามาก่อน   เป็นลักษณะป่าเบญจพรรณ  ค่อนข้างรกทึบ  ประกอบด้วยพรรณไม้จำพวกไม้แดง  เต็งรัง  ประดู่  เป็นต้น  ปัจจุบันป่าไม้ที่เคยมีในอดีตถูกชาวบ้านแปลงสภาพเป็นที่ทำกินโดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร  และอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านซึ่งนับวันจะขยายออกไปเรื่อย ๆ  ทำให้ป่าไม้เหลืออยู่เพียงบางส่วนเท่านั้นตามหัวไร่ปลายนา

การคมนาคม

             บ้านสงเปือย   มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับชุมชนเมืองและชุมชนอื่นๆ  ได้อย่างสะดวกสบาย     เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก  ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรระหว่างจังหวัดใกล้เคียง  คือ นครพนม  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานีและเป็นถนนลาดยางตลอดสายห่างจากตัวอำเภอเมืองมุกดาหารเพียง  6   กิโลเมตร ชื่อถนนชยากูร  สายมุกดาหาร – นครพนม

             ถนนภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางและคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียงถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านยาวที่สุดประมาณ  2,000  เมตร

ประชากร

             บ้านสงเปือย  มีจำนวนครัวเรือน  87    ครัวเรือน  ประชากรทั้งหมด  214 คน  แยกเป็นชาย  115  คน  หญิง  99  คน

การบริการในหมู่บ้าน

การบริการและสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน  ประกอบด้วย

                    -โรงสีข้าว  3  แห่ง

                  - ร้านค้าเบ็ดเตล็ด  5  แห่ง

                  - ปั๊มน้ำมัน  (ปั๊มหลอด)  2  แห่ง

                  - หอกระจายข่าว  1  แห่ง  ตั้งอยู่บ้านผู้ใหญ่บ้าน  ใช้บริการด้านให้ข้อมูล

ข่าวสารต่าง ๆ  ประชาสัมพันธ์งานอื่น ๆ

                  - ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน  1  แห่ง

                  - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  1  แห่ง

                  - ศูนย์ประสานงานกองทุนหมู่บ้าน  1  แห่ง

                  - ศาลาประชาคมหมู่บ้าน  1  แห่ง

                  - การไฟฟ้า  ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

                  - น้ำใช้  ครัวเรือนมีน้ำประปาใช้และมีน้ำบาดาลใช้  เพียงพอต่อความต้องการ

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

             ราษฎรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านสงเปือย  ประกอบอาชีพหลัก  คือ    ทำนา    โดยในระหว่างฤดูกาลทำนาก็ได้มีการประกอบอาชีพเสริมไปด้วยคือการเลี้ยงสัตว์  และนอกจากการทำนาแล้วก็ยังมีอาชีพใหม่ที่ราษฎรยึดเอาเป็นอาชีพรองลงมาจากอาชีพหลักคือ  อาชีพ รับจ้างทั่วไป  และการปลูกผักขาย  การค้าขายกระเทียม  ซึ่งสามารถทำรายได้ให้แก่ราษฎรมากพอสมควร  เพราะได้มีการถ่ายทอดความรู้ในด้านนี้ของครอบครัวมาสู่รุ่นลูกหลาน 

ข้อมูลด้านสังคม  ประเพณีและวัฒนธรรม

             บ้านสงเปือย  ใช้ภาษาพูดพื้นบ้านคือ  ภาษาไทยอีสาน  ศาสนาที่ชาวบ้านนับถือคือศาสนาพุทธ มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายอยู่กันแบบพี่น้องมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติเป็นสังคมแบบเกษตรกรรมและมีการยึดถือและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่อันดีงามเพื่อสืบทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน  โดยเฉพาะกิจกรรมหรืองานประเพณีที่สำคัญในรอบหนึ่งปีของบ้านสงเปือย   ที่ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรัก ความสามัคคี  ในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี  มีดังนี้

                  เดือน  มกราคม           ทำบุญประเพณี  ทำบุญกองข้าว

                  เดือน  กุมภาพันธ์          ทำบุญประเพณี  ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ

                  เดือน  มีนาคม             ทำบุญประเพณี ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ

                  เดือน  เมษายน            ทำบุญประเพณี  งานสงกรานต์

                  เดือน  พฤษภาคม         ทำบุญประเพณี  ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ

                  เดือน  มิถุนายน           ทำบุญประเพณี  ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ

                  เดือน  กรกฎาคม          ทำบุญประเพณี  ทำบุญเข้าพรรษา,ถวายผ้าอาบน้ำฝน

                  เดือน  สิงหาคม            ทำบุญประเพณี  บุญห่อข้าวประดับดิน

                  เดือนกันยายน             ทำบุญประเพณี  บุญห่อข้าวสาก

                  เดือน  ตุลาคม             ทำบุญประเพณี  บุญออกพรรษา,ตักบาตรเทโว,บุญกฐิน

                  เดือน  พฤศจิกายน        ทำบุญประเพณี  บุญลอยกระทง

                  เดือน  ธันวาคม           ทำบุญประเพณี   ทำบุญตักบาตรเทศกาลต้อนรับปีใหม่

             จะเห็นได้ว่าบ้านสงเปือย ได้มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม มาจนถึงชั่วลูกหลาน  ไม่ว่าจะเป็นการปกครองที่มีการเกื้อกูลกัน และให้บริการโดยทั่วถึงกัน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ  ป่าไม้ และพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกมีการปลูกพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  ผักสวนครัว  หอม กระเทียม เป็นต้นไว้บริโภคและ แปรรูปจำหน่าย 

-                   มีแม่น้ำโขง  เป็นภูมิทัศน์ที่สวยงาม

-                   ประชาชนมีความสามัคคี มีความขยันอดทน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น

-                   ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ มีนิสัยขยัน  ซื่อสัตย์  มีคุณธรรม อดออมและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากบรรพบุรุษตลอดมา

-                   สภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี

-                   ประชาชนมีอาชีพเสริมและสามารถพึ่งตนเองได้

-                   มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง  มีการบริหารจัดการที่ดี

-                   ประชาชนไม่ติดอบายมุข การพนัน  สิ่งที่สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

-                   ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเยาวชนมั่วสุมเสพยาเสพติด  การลักขโมย และการล่อลวง

-                   มีการบริหารจัดชุมชนโดยประชาชนมีส่วนร่วมประชาชนมีสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีความหวงแหนและเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน   

ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ปราชญ์ชาวบ้าน

      1.ชื่อนายหนูปัน  แสนวิเศษ  บ้านเลขที่ 6  เป็นปราชญ์ ด้านใด(ระบุ) การจักสาน

2.ชื่อนายเฉลิม  อังคณา   บ้านเลขที่  24 เป็นปราชญ์ ด้านใด(ระบุ) การจักสาน

3.ชื่อนายเปลื้อง  ทองจันทร์  บ้านเลขที่ 8 อายุ…54 .ปี เป็นปราชญ์ ด้านใด(ระบุ) การจักสาน

ผู้นำชุมชนที่สำคัญในหมู่บ้าน

1.ผู้ใหญ่บ้าน   ชื่อนายวัฒนา  ภาคี บ้านเลขที่   55 

2.ผู้ช่วย ผญบ. ชื่อนายคำหวาน  โทนสิมมา   บ้านเลขที่   10

3.ผู้ช่วย ผญบ. ชื่อนายหนูปัน  แสนวิเศษ   บ้านเลขที่  6

4. ส.อบต.       ชื่อนายอุทัย อรรคศรี  บ้านเลขที่  11

5. อช./ผู้นำอช.ชื่อนายสมยศ  พระศรีเชียงใหม่  บ้านเลขที่ 36

6. อช./ผู้นำอช.ชื่อนายวิชัย จันทร์วงษา   บ้านเลขที่ 36

7. อช./ผู้นำอช.ชื่อนางสุวรรณ ศรีตะชัย บ้านเลขที่ 40

8. อช./ผู้นำอช.ชื่อนางสำองค์  อรรคศรี  บ้านเลขที่ 11

การรวมกลุ่ม/องค์กรชุมชน  ดังนี้

                   - กลุ่มอาชีพ กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ สมาชิก 25 คน

-  คณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.) สมาชิก    9   คน

-  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สมาชิก 5  คน

-  คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สมาชิก 9  คน

-  คณะกรรมการ กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน  9  คน

-  คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์ประจำหมู่บ้าน สมาชิก 7  คน

-  คณะกรรมการเยาวชนหมู่บ้าน(กยม.)  สมาชิก 7  คน

- คณะทำงาน SML  สมาชิก 15   คน

- กลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา  กรรมการ  9   คน สมาชิก  20  คน

          - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  จำนวน 1   กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด  85  คน

               - ร้อยละ 80 ของวัยแรงงานมีอาชีพเหมาะสม

               - มีโครงสร้างพื้นที่ตามเกณฑ์เหมาะสม

               -ระยะทาง ห่างไกลตัวอำเภอ  6 กิโลเมตร

               - มีโรงงานเย็บผ้าอุตสาหกรรม  1   แห่ง

 ข้อมูลกลุ่ม/องค์กร/กองทุนต่างๆ ในชุมชน  (ระบุชื่อ จำนวนสมาชิก จำนวนเงินกองทุน)

1.  ชื่อกลุ่ม…ออมทรัพย์เพื่อการผลิต…….จำนวนสมาชิก 85  คน  จำนวนเงินทุน  450,000 บาท

ประธานกลุ่มชื่อ นายอุทัย  อรรคศรี  สถานที่ตั้งกลุ่ม 11  ม. 9  ต.บางทรายใหญ่

หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้   089-6211569 , 042-639301

2.  ชื่อกลุ่ม   กลุ่มแม่บ้าน  จำนวนสมาชิก  15  คน  จำนวนเงินทุน........-......ทุน

ประธานกลุ่มชื่อ นางสำองค์  อรรคศรี     สถานที่ตั้งกลุ่ม   11  ม.9   ต.บางทรายใหญ่

หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้  042-639058 , 084-5907072

3.  ชื่อกลุ่ม    กองทุน กข.คจ.     จำนวนสมาชิก   45   คน  จำนวนเงินทุน  280,000 บาท

ประธานกลุ่มชื่อ  นางอรพรรค์  คำปัน    สถานที่ตั้งกลุ่ม 63    ม.9    ต.บางทรายใหญ่

หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้  084-9536918

4. กลุ่มอาชีพ กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ สมาชิก 25 คน จำนวนทุน 10,000 บาท

ประธานกลุ่มนางสำอาง อรรศรี สถานที่ตั้งกลุ่ม 112 ม.9 ต.บางทรายใหญ่

ส่วนที่ 2

                         การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

การประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาความต้องการ จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาสของชุมชน ในการพัฒนาหมู่บ้าน และได้ประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมา โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูล กชช. 2 ค ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และจากเวทีประชาคม เพื่อหาสาเหตุ ปัจจัย และความเชื่อมโยง เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านให้ตรงกับสภาพปัญหาความเป็นจริง รวมทั้งศึกษาข้อมูลกิจกรรมโครงการที่หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ วิเคราะห์ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาชุมชน ผลการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์พัฒนาจะทำให้หมู่บ้านมีมุมมอง และแนวคิดในการกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

               ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. 2 ค

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน  (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด  30  ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับ

มาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบว่าสภาพความเป็นอยู่ของตนเองว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน มี 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 1 สุขภาพดี ( คนไทยมีสุขภาพและอนามัยดี )  มี 7 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย (คนไทยมีบ้านอาศัยและสภาพแวดล้อมเหมาะสม) มี 8 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา (คนไทยมีการศึกษาที่เหมาะสม)  มี 5 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า (คนไทยมีงานทำและมีรายได้)  มี 4  ตัวชี้วัด

หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย (คนไทยประพฤติดีและมีคุณธรรม)  มี 6 ตัวชี้วัด

    จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.)

ไม่มีปัญหาที่ไม่บรรลุเป้าหมาย

                        ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช 2 ค

ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านเป็นข้อมูลที่แสดงระดับการพัฒนาหมู่บ้านว่า หมู่บ้านอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ โดยมีข้อมูลทั้งหมด   7 ด้าน 33 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า บ้านหนองตะเคียนเฒ่า เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3 หรือหมู่บ้านก้าวหน้า

  จากผลการสรุปปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช.2ค.

          ได้สรุปปัญหาที่ได้ระดับคะแนนน้อย ( 1 คะแนน)  และแนวทางการแก้ไขไว้ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ปัญหา                      การติดต่อสื่อสาร

แนวทางแก้ไข - ควรเพิ่มตู้โทรศัพท์สาธารณะและตู้รับเอกสารตามครัวเรือนเพื่อรับข่าวสารทั้งภายในและภายนอก หมู่บ้าน

ปัญหา                    ด้านการกีฬา

แนวทางแก้ไข  - สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาทุกประเภท

 - ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาภายในหมู่บ้าน

 - จัดหาวิทยากรมาฝึกสอนกีฬาให้กับคนในหมู่บ้าน

                                        ปัญหาจากเวทีประชาชน

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1.1 เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อย

เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยหรือเท่าเดิมแต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่ายประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนเพียงอย่างเดียว   ไม่มีการประกอบอาชีพเสริมและไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพเสริม

1.2 ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  ไม่แน่นอน จึงทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงก่อให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อยังชีพ

1.3 ต้นทุนในการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้สูง  เพราะ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาสูง

2. ปัญหาด้านสังคม

2.1  ประชาชนบางส่วนไม่ร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของชุมชนและมีการรวมกลุ่มกันน้อย

3.  ด้านสาธารณสุข

          3.1  คนในครัวเรือนดื่มสุรา 

3.2  คนในครัวเรือนสูบบุหรี่

4. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          3.1  การทิ้งขยะในหมู่บ้านยังไม่เป็นระบบ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

จากผลการสำรวจข้อมูลและปัญหาของหมู่บ้านได้มีกิจกรรม/โครงการ

ในแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้านดังนี้

1.1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน     

ปัญหา   การติดต่อสื่อสาร   แนวทางแก้ไข

- ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารโดยการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

- ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน

ปัญหา              ด้านการกีฬา    แนวทางแก้ไข

- ของบสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์กีฬาสำหรับให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เล่น ออกกำลังกาย

- ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเล่นกีฬา จัดหาสนามกีฬาและวิทยากรมาแนะนำการเล่น กฎ กติกา

1.2 ด้านเศรษฐกิจ                                                                

ปัญหา

 1) เศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนมีรายได้น้อย

 2) ราคาพืชผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  ไม่แน่นอน

 3) ต้นทุนในการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้สูง

แนวทางแก้ไข

มีการให้ความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การส่งเสริมการออม/การประหยัด และการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้นำการดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     

- ส่งเสริมการใช้เกษตรชีวภาพในการทำสวนผลไม้

- ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้

- สนับสนุนกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ

- ส่งเสริมการใช้สารสกัดชีวภาพในการกำจัดแมลง

1.3 ปัญหาด้านสังคม

1)  ประชาชนบางส่วนไม่ร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชนและมีการรวมกลุ่มกันน้อย

แนวทางแก้ไข

จัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา  วิสาขบูชา วันเข้าพรรษา-ออกพรรษา และงานประเพณี  เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันพ่อแห่งชาติ  วันแม่แห่งชาติ  วันสงกรานต์ เป็นต้น จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ นอกจากนี้เมื่อมีงานประเพณีในเรื่องงานบวช งานศพ ชาวบ้านก็จะมีการช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี                                             

1.4  ด้านสาธารณสุข         

 ปัญหา

          1) คนในครัวเรือนดื่มสุรา                                

2) คนในครัวเรือนสูบบุหรี่                                                      

          แนวทางแก้ไข

          - รณรงค์การลด ละ เลิก อบายมุข

          - ส่งเสริมการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย

          1.5 ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          1)  การทิ้งขยะในหมู่บ้านยังไม่เป็นระบบ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

          แนวทางแก้ไข

          - รณรงค์ให้ประชาชนได้คัดแยกขยะก่อนที่จะนำไปทิ้ง

          - ขอรับงบประมาณสนับสนุนจัดซื้อถังรองรับขยะในหมู่บ้าน

 

 

ส่วนที่ ๓

                              แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านสงเปือย  เป็นหมู่บ้านมีทุนทางสังคมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ เสียสละ และประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน จากการจัดเวทีประชาคมได้วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน พบว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ดังนี้

                        จุดแข็ง

            - ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง

            - ช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน

            - มีความเอื้ออาทรกัน อยู่อย่างฉันท์พี่-น้อง

            - มีปราชญ์ชาวบ้านและหมอพื้นบ้านในหมู่บ้าน

            - มีกองทุนหมู่บ้าน

            - มีผู้นำกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็ง

                      จุดอ่อน

- ต้นทุนการผลิตสูง

- ราคาผลผลิตตกต่ำ

- ประชาชนมีรายได้น้อย

- ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม

                       โอกาส

- มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือ

- มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ความช่วยเหลือ

- นโยบายของจังหวัด

- นโยบายรัฐบาล

- มีแหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน

                      อุปสรรค

-  ราคาน้ำมันแพง                            

-  ค่าน้ำ ค่าไฟแพง

-  ภัยแล้ง

-  ภัยธรรมชาติ                                        

บ้านสงเปือย ม.9 ได้มีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีการวิเคราะห์ ศักยภาพชุมชน   กำหนดตำแหน่ง   การประกอบอาชีพ ค้นหาสาเหตุของปัญหา รวมทั้งได้กำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์หมู่บ้าน ดังนี้

การกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาหมู่บ้าน

            วิสัยทัศน์การพัฒนาหมู่บ้าน  คือ   ประชาชนในหมู่บ้านใช้ชีวิตแบบพอเพียง และพึ่งตนเองได้ทุกครัวเรือน

            พันธกิจของหมู่บ้านที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์   คือ  ประชาชนพึงตนเอง ไม่พึ่งพาภายนอก

            เป้าหมายการพัฒนา คือ

                   ๑. ประชาชนดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   ๒. ประชาชนลด ละ เลิก อบายมุข

                   ๓. ประชาชนมีการออมเงิน

                   ๔. ประชาชนมีอาชีพเสริม

                   ๕. พัฒนาหนองตะเคียนเฒ่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

 

 

                                   เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน

 

บ้านสงเปือย  ได้มีการจัดเวทีประชาคมจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน ให้บรรลุพันธกิจที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน  โดยกำหนดกิจกรรม/โครงการ ดังนี้                              

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

1) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

2) โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

3) กิจกรรม ลด ละ เลิก อบายมุข                               

4) พัฒนากลุ่มอาชีพสตรี

5) สนับสนุนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

6) ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากชีวภาพในการกำจัดแมลง           ส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน

7) รณรงค์การลดใช้สารเคมีในการทำสวนผลไม้            

8) ส่งเสริมการออมเงิน / การทำบัญชีครัวเรือน  

9) ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

10) ส่งเสริมการใช้เกษตรชีวภาพในการทำสวนผลไม้                           

11) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

12) สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังยาเสพติดไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน                                                                          ผลิตสารสกัดจากชีวภาพ

13) อบรมให้ความรู้การประหยัดพลังงาน

                                               

ส่วนที่ ๔

                                  สรุปรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

 

บ้านสงเปือย เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชุมชนชนบท มีอาชีพหลักด้านการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งดินและน้ำ จึงเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญทำให้ประชาชนมีความมั่นคงทางด้านการประกอบอาชีพทางการเกษตร การอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้านมีความปรองดอง เอื้ออาทร รักใคร่ สามัคคี มี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม การจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาและประเพณี   ทำให้เกิดความร่วมมือและสามัคคีกันบ้านป่าไม้พัฒนา เป็นหมู่บ้านที่ศักยภาพในการพัฒนาสูง เพราะผู้นำชุมชนเป็นนักพัฒนาที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงทำให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี และได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนแก่หมู่บ้านอื่น ๆ ในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ บ้านป่าไม้พัฒนา  มีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กร   ขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน เช่น กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา   กองทุนหมู่บ้าน   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนแม่ของแผ่นดิน ทำให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในด้านต่างๆ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ในการดำเนินกิจกรรมภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าไม้พัฒนา มีหลาย กิจกรรมที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

1. การประชุมหรือจัดเวทีประชาคม มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องของการทำมาหากิน หรือการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2. การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน การที่ประชาชนได้ไปฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เป็นการ

ได้ดูแบบอย่างที่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เกิดการปรับทัศนคติหรือแนวคิด และการมีแบบอย่างในการใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน บ้านป่าไม้พัฒนา  มีการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากชีวภาพในการกำจัดแมลง   ส่งเสริมการออมทรัพย์ รณรงค์การลดใช้สารเคมีในการทำสวนผลไม้  รณรงค์การลด ละ เบิกอบายมุข รณรงค์การประหยัดและอดออม  ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นการวางแผนการใช้จ่ายเงิน

4. ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆอย่างบูรณาการ มีการประสานหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน

จึงทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาจนบรรลุพันธกิจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน

ได้อย่างยั่งยืน

การประเมินสถานการณ์ของหมู่บ้านจากข้อมูล

ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค)

          2.1 ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ.

          จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับมาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ แบ่งเป็น 5 หมวดคือ

          หมวดที่ 1 สุขภาพดี                 มี          7      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย             มี          8      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา         มี          5      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า         มี          4      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม           มี          6      ตัวชี้วัด 

แบบสรุปคุณภาพชีวิตของครัวเรือน (จปฐ.1) ปี 2559 ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด
          2.2 ผลการสำรวจข้อมูล กชช.2ค
          จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปี 2558 บ้านสงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับ 3 (มีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา) จำนวน 23 ตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหา เป็นดังนี้

ตัวชี้วัดเป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ

                   9)   การทำงานในสถานประกอบการ

                   2๕)  การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน
                   26) คุณภาพดิน
                   32) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

ตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี 6 ตัวชี้วัด คือ

          7)   การติดต่อสื่อสาร

           10) ผลผลิตจากการทำนา

          17) การกีฬา

          24) การรวมกลุ่มของประชาชน

          31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด

          34) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช.2ค ปี 2558

บ้านสงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

ตัวชี้วัด

คะแนน

ตัวชี้วัด

คะแนน

1. ด้านโครงสร้าง

    (1) ถนน

    (2) น้ำดื่ม

    (3) น้ำใช้

    (4) น้ำเพื่อการเกษตร

    (5) ไฟฟ้า

    (6) การมีที่ดินทำกิน

    (7) การติดต่อสื่อสาร

 

3

3

3

3

3

3

2

5. ด้านการมีส่วนร่วมและความเข็มแข็งของชุมชน

(21) การเรียนรู้โดยชุมชน

(22) การได้รับการคุ้มครองทางสังคม

(23) การมีส่วนร่วมของชุมชน

(24) การรวมกลุ่มของประชาชน

(25) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ

ประชาชน

 

 

3

3

3

3

2

1

2. ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

    (8) การมีงานทำ

    (9) การทำงานในสถานประกอบการ

    (10) ผลผลิตจากการทำนา

    (11) ผลผลิตจากการทำไร่

    (12) ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่น ๆ

    (13) การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

    (14) การได้รับประโยชน์จาการมีสถานที่ท่องเที่ยว

 

3

1

2

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

 

3

 

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(26) คุณภาพดิน

(27) คุณภาพน้ำ

(28) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

(29) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

(30) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

 

 

1

3

ไม่มี

ไม่มี

3

 

 

3. ด้านสุขภาพและอนามัย

    (15) ความปลอดภัยในการทำงาน

    (16) การป้องกันโรคติดต่อ

    (17) การกีฬา

 

 

3

3

2

 

7.ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ

(31)ความปลอดภัยจากยาเสพติด

(32)ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

(33)ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

 

 

2

1

2

4. ด้านความรู้และการศึกษา

(18) การได้รับการศึกษา

(19) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

(20) ระดับการศึกษาของประชาชน

 

3

ไม่มี

3

 

 

ระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3

 

 

          2.3 การวิเคราะห์จากโปรแกรม Community Information Radar Analysis หรือ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศสำคัญของ บ้านสงเปือย หมู่ที่ 9 ตำบลบางทรายใหญ่

จากการสำรวจ ข้อมูล จปฐ.  ปี 2559 พบว่าหมู่บ้านไม่มีตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ และจากข้อมูล กชช.2ค.   ปี 2558  โดยมีตัวชี้วัดเป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ ๘) การมีงานทำในสถานประกอบการ   2๕) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน 26) คุณภาพดิน 32) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ ตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี 6 ตัวชี้วัด คือ 7) การติดต่อสื่อสาร 10) ผลผลิตจากการทำนา ๒๙) การกีฬา 24) การรวมกลุ่มของประชาชน 31) ความปลอดภัยจาดยาเสพติด 31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด 33) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงชุมชน โดยนำข้อมูลที่ได้มา บันทึกลงโปรแกรม Community Information Radar Analysis เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาด้านกการจัดการความเสี่ยงชุมชน อันดับ 2 ปัญหาการแก้ไขปัญหาความยากจน อันดับ 3 ปัญหาด้านการพัฒนาอาชีพ อันดับ 4 ปัญหาด้านการจัดการชุมชน และอันดับ 5 ปัญหาด้านด้านการจัดการทุนชุมชน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ทางหมู่บ้านได้ส่งเสริมงาน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ประสานการตลาดและประสานแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สนับสนุนการบริหารจัดการโครงการให้เป็นและทำได้ ส่งเสริมให้ประชาชนออมทรัพย์กับสถาบันเงินทุนชุมชน  

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view