http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,773
เปิดเพจ51,764
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านคำเขือง ม.3 ต.คำอาฮวน

บ้านคำเขือง หมู่ที่ ๓ ตำบลคำอาฮวน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

 

******************

v    บ้านคำเขือง หมู่ที่ ๓ ก่อตั้งครั้งแรกโดย ท้ายพรมจันทร์ สุวรรณศรี ประมาณปี ๒๔๓๒

(คำหมายถึง น้ำที่มีอยู่ตลอดเวลา เขื่องหมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเถาวัลย์ลำต้นเป็นหนามใบกลมประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร) โดยการอพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดตามลักษณะเป็นพ่อค้า โค-กระบือ เป็นนายฮ้อย ชื่อดัง มีเงินทองมากมาย ก่อตั้งครั้งแรกมีจำนวน ประชากร ประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน การปกครองเป็นแบบพี่ปกครองน้อง นับถือศาสนา พราหมณ์ และพุทธ โดยมีผู้นำการปกครองของหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้๑.นายทองสุข  สุวรรณศรี  ๒.นายเสียร  สุวรรณศรี  ๓.นายเชื่อม  สุวรรณศรี ๔.นายทา  สุวรรณศรี ๕.นายบุญชื่น สุวรรณศรี  ๖.นายไพฑูรย์  ไชยพันธ์  ๗.นายเทา ศรีวิชา  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

 

v ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบลคำป่าหลาย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดหาร

        ๑๒ กิโลเมตร

  • ทิศเหนือ          ติดเขต บ้านศูนย์ไหม      ตำบลมุกดาหาร
  • ทิศใต้             ติดเขต บ้านคำอาฮวน     ตำบลคำอาฮวน
  • ทิศตะวันออก     ติดเขต บ้านเหมืองบ่า     ตำบลคำอาฮวน
  • ทิศตะวันตก      ติดเขต บ้านพรานอ้น     ตำบลคำอาฮวน

 

v อาณาเขตพื้นที่

เนื้อที่หมู่บ้านทั้งหมด   ๓,๘๐๐ ไร่

  • พื้นที่การเกษตร    ๓,๕๐๐ ไร่
  • ที่อยู่อาศัย          ๒๐๐ ไร่
  • พื้นที่สาธารณะประโยชน์  ๑๐๐ ไร่

 

v ลักษณะภูมิประอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มี ๓ ฤดู  ฤดูร้อน  ฤดูหนาว  ฤดูฝนการคมนาคม ถนนติดต่อหมู่บ้าน มี ๕  เส้นทาง เป็นถนนลาดยาง ๓ เส้นทาง เป็นทางลูกรัง ๒ เส้นทาง

 

v แหล่งน้ำธรรมชาติ

  • Ø หนองแฝก
  • Ø ห้วยคำมะคอน

 

 

v แหล่งน้ำสร้างขึ้น

  • Ø บ่อน้ำสาธารณะ  จำนวน ๑ บ่อ  (บ่อคำเบ็น)
  • Ø บ่อน้ำบาดาลสาธารณะ  ๓ บ่อ
  • Ø ฝายกั้นน้ำ ๔ แห่ง

v ประชากร

  • Ø จำนวนครัวเรือนทั้งหมด (ตามข้อมูล จปฐ.) จำนวน  ๑๘๗ ครัวเรือน

จำนวนประชากรทั้งหมด ๕๕๘ คน แยกเป็น  ชาย  ๒๓๐ คน,หญิง ๓๒๘ คนการประกอบอาชีพ

  • Ø ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพหลักคือ ทำนา อาชีพรอง ทำไร่ และทำสวน ฃ
  • Ø รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ๔๗,๐๐๐ บาท

v ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีกลุ่มกองทุนชุมชน ดังนี้

  • Ø กองทุนหมู่บ้าน เงินทุน จำนวน ๒,๕๐๕,๔๑๓.๕๒ บาท  สมาชิก ๑๓๑ คน
  • Ø กองทุนแม่ของแผ่นดิน เงินทุน จำนวน ๒๕,๓๓๘ บาท  สมาชิก ๑๒๐ คน
  • Ø กลุ่มผลิตเสื้อเย็บมือ เงินทุน จำนวน ๑๒,๐๐๐ บาท  สมาชิก ๑๒ คน
  • Ø กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  เงินทุน  จำนวน  ๕,๐๐๐ บาท  สมาชิก ๑๐ คน
  • Ø กองทุน กข.คจ. เงินทุน   จำนวน ๒๘๑,๐๖๗ บาท   สมาชิก ๑๑๐ คน

v ด้านสังคม

  • Ø การศึกษา
    • โรงเรียนประถมศึกษาในหมู่บ้าน ๑ แห่ง
    • โรงเรียนมัธยมศึกษา  จำนวน ๑ แห่ง
    • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  จำนวน ๑ แห่ง 

                                              ข้อมูลผู้นำชุมชน

 

๑. นายเทา  ศรีวิชา       ผู้ใหญ่บ้าน        บ้านเลขที่ ๒๐ อายุ ๔๐ ปี    การศึกษา  ม.ต้น

๒.นายสวาท  คำโยธา     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านเลขที่ ๓๘ อายุ ๕๒ ปี    การศึกษา ป.๔

๓.นางเนื่อง  ศรีอ่อน       ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านเลขที่ ๑๖๒ อายุ ๔๔ ปี  การศึกษา ม.๖

๔.นายไพศาล  ศรีวิชา     สมาชิกเทศบาล  บ้านเลขที่ ๑๒๐  อายุ ๕๖ ปี การศึกษา ป.๔

๕.นายประสาน  ศรีวิชา   สมาชิกเทศบาล บ้านเลขที่ ๖/๒  อายุ ๕๓ ปี   การศึกษา ม.๓

๖.นางบำเพ็ญ  ศรีโยหะ   ประธานกลุ่มเสื้อเย็บมือ บ้านเลขที่ ๑๒๒ อายุ ๕๓ ปี การศึกษา ม.๓

๗.นางคง  คำแก้ว         อาสาพัฒนาชุมชน บ้านเลขที่ ๒๔ อายุ ๔๙ ปี      การศึกษา ป.๖

๘.นายสุดใจ  คนเพียร    อาสาพัฒนาชุมชน บ้านเลขที่ ๑๒/๒ อายุ ๕๒ ปี   การศึกษา ป.๔

๙.นายอุทัย  สุวรรณศรี  ประธานกองทุนหมู่บ้าน เลขที่ ๑๕๗ อายุ ๔๙ ปี    การศึกษา ปริญญาตรี

๑๑. นางสุกัญญา  ศรีวิชา  อาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน

๑๐. นางบุญนำ  ขันแข็ง  ประธาน อสม.  บ้านเลขที่ ๒๗ อายุ ๖๕ ปี  การศึกษา  ป.๔

๑๑.นางบำเพ็ญ  ศรีโยหะ  อสม. เลขที่ ๑๒๒ อายุ ๕๓ ปี การศึกษา ม.๓

๑๒.นางประยูร  ศรีโยหะ   อสม. เลขที่ ๑๙ อายุ ๕๒ ปี   การศึกษา  ม.๖

๑๓.นางพันมหา  ศรีวิชา    อสม. เลขที่ ๓๐ อายุ ๔๕ ปี  การศึกษา  ม.๖

๑๔.นางสอน  ศรีวิชา        อสม. เลขที่ ๑๘ อายุ ๕๓ ปี  การศึกษา ป.๔

๑๕. นางบุญนาค  ชุมนวล  อสม. เลขที่ ๖  อายุ ๔๕ ปี การศึกษา  ม.๓

 

ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

 

  • นายสน  ศรีวิชา  อายุ ๗๕  ปี เลขที่ ๒๐/๓  ความสามารถด้านโหราศาสตร์และจักสาน
  • นายประมวล  เทพศรีหา  อายุ ๖๕ ปี เลขที่ ๘๑ ความสามารถประเพณีการสู่ขวัญ
  • นายวิชัย  สุวรรณศรี  อายุ ๔๗ ปี  มีความารถในด้านปราชญ์นมแม่

 

ด้านศาสนา และวัฒนธรรม

 

  • คนบ้านคำเขือง มีความความสามัคคีปรองดอง มีจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด ๑ แห่ง  สำนักสงฆ์ ๑ แห่ง  มีการรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามฮีตสอง คลองสิบสี่ ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น

  

 

การวิเคราะห์ศักยภาพหมู่บ้าน

 

จุดแข็ง

-ประชากรมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพของตนเอง

-ประชากรในชุมชนมีความสามัคคีกันดี และยอมให้โอกาสซึ่งกันและกัน

- ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง

 

จุดอ่อน

-ประชาชนในหมู่บ้าน มีอาชีพเสริมน้อย ทำให้มีภาระหนี้สินจากหนี้นอกระบบ

 

โอกาส

-มีการบูรณาการในการทำงานของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่

- นโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมบริหารโครงการฯ

 

อุปสรรค

-การรวมกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านมีน้อย

 

วิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน

 

ที่

เรื่อง

 

สภาพปัญหา

แนวทางแก้ไขปัญหา

น้ำดื่มน้ำใช้ไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง

ไม่มีที่กักเก็บน้ำที่เป็นมาตรฐาน

-ขุดลอกบ่อน้ำตื้นเขินให้กักเก็บน้ำได้มากขึ้น

- จัดหาวัสดุกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน

ถนนภายในหมู่บ้านสัญจรไม่สะดวก

เป็นทางลูกรัง

-เสนอขอรับประมาณในการสร้างถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน

ขาดอุปกรณ์กีฬา

-ขาดอุปกรณ์กีฬาที่ดี

-อุปกรณ์เก่า ใช้งานไม่ได้

-อุปกรณ์กีฬาไม่เพียงพอ

- จัดหาอุปกรณ์กีฬา

โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

 

ส่วนที่ ๒

การประเมินการพัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.๒ค)

 

  • สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ.

มีข้อมูลที่จัดเก็บทั้งหมด ๕ หมวด ๓๐ ตัวชี้วัด

  • ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๒๘ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ข้อที่ ๑ – ๒๔ , และข้อ ๒๗-๓๐
  • ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๒ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย  ข้อที่ ๒๕,๒๖

 

ตัวชี้วัดที่

จำนวน (ครัวเรือน)

วิเคราะห์สาเหตุที่ตกเกณฑ์

แนวทางแก้ไข

ข้อ ๒๕. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา

(ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ )

มีครัวเรือนที่ดื่มสุรา จำนวน ๒ ครัวเรือน

เนื่องจากกลุ้มใจ รายได้น้อย

-สร้างความเข้าใจในโทษภัยของการดื่มสุรา และดูแลโดย รพ.สต.

แนะนำการทำอาชีพเสริมในครัวเรือน

ข้อ ๒๖. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

๕๗

คนที่สูบบุหรี่เป็นผู้ชาย เพราะคิดว่าความเท่ห์ เป็นแมนเต็มตัว

-สร้างความเข้าใจแก่ครัวเรือนตกเกณฑ์ จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลด ละ เลิก อบายมุข สิ่งเสพติด และ

  

การประเมินการพัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน (กชช.๒ค)

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านคำเขือง หมู่ที่ ๓ ตำบลคำอาฮวน

 

ตัวชี้วัด

 

คะแนน

ตัวชี้วัด

 

คะแนน

๑.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(๑) ถนน

(๒) น้ำดื่ม

(๓) น้ำใช้

(๔) น้ำเพื่อการเกษตร

(๕) การไฟฟ้า

(๖) การมีที่ดินทำกิน

(๗) การติดต่อสื่อสาร

๒. ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

(๘) การมีงานทำ

(๙) การทำงานในสถานประกอบการ

(๑๐) ผลผลิตจากการทำนา

(๑๑) ผลผลิตจากการทำไร่

(๑๒) ผลผลิตจากการทำการเกษตรอื่นๆ

(๑๓) การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

(๑๔) การได้รับประโยชน์จากการมีถานที่

ท่องเที่ยว

๓.ด้านสุขภาวะและอนามัย

(๑๕) ความปลอดภัยในการทำงาน

(๑๖) การป้องกันโรคติดต่อ

(๑๗) การกีฬา

๔.ด้านความรู้และการศึกษา

(๑๘) การได้รับการศึกษา

(๑๙) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

(๒๐) ระดับการศึกษาของประชาชน

 

 

-

-

-

-

-

-

 

 

 

 

 

๕.ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งชองชุมชน

(๒๑) การเรียนรู้โดยชุมชน

(๒๒) การได้รับความคุ้มครองทางสังคม

(๒๒) การมีส่วนร่วมของชุมชน

(๒๔) การรสมกลุ่มของประชาชน

(๒๕) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน

๖.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๒๖) คุณภาพดิน

(๒๗) คุณภาพน้ำ

(๒๘) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

(๒๙) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

(๓๐) การจัดสภาพสิ่งแวดล้อม

๗.ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ

(๓๑) ความปลอดภัยจากยาเสพติด

(๓๒) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

(๓๓) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

 

 

-

-

-

 

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้าน

(๑) มีปัญหามาก           ๓

(๒) มีปัญหาปานกลาง     ๔

(๓) มีปัญหาน้อย           ๑๗

 

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

 

จากข้อมูล กชช.๒ ค พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาด้านการได้รับการศึกษา ซึ่งประชาชนสูงวัย ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษา เนื่องจากมุ่งเน้นการประกอบอาชีพอย่างเดียว ซึ่ง หน่วยงาน กศน.อำเภอเมืองมุกดาหาร ดูแลรับผิดชอบในการให้การศึกษานอกระบบ ,ปัญหาเรื่องการเรียนรู้โดยชุมชน ซึ่ง ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ระดับพื้นฐาน

ต้องมีการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้โดยคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกันจัดทำองค์ความรู้ของปราชญ์ในหมู่บ้านเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เรียนรู้และศึกษา,ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน เป็นการป้อนข้อมูลผิดพลาดเนื่องจากหมู่บ้านมีกองทุนที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ส่วนที่ ๓  แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

 

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

พัฒนาสู่อาเซียน เปลี่ยนเป็นชุมชนน่าอยู่ เพิ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน ต่อต้านสิ่งเสพติด เพิ่มคุณภาพชีวิต ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

 

ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

  • พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ทำน้ำประปา ให้เป็นน้ำดื่ม
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
  • ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ น่าอาศัย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา
  • ส่งเสริมและสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

กิจกรรม/โครงการที่ชุมชนดำเนินการเองในระดับหมูบ้าน

 

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

 

งบประมาณ

        ว/ด/ป

ทีดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

 

ผลที่เกิดขึ้น

ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

รู้และวางแผนการจัดการรายรับ/รายจ่าย

ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

มีผักสวนครัวไว้ทานเองเพื่อช่วยลดการใช้จ่าย

ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมัก

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

เป็นการรักษาสภาพดินและลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ

ส่งเสริมการเลี้ยงปลา กบ ไก่ เพื่อบริโภคเองในครัวเรือน

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

มีอาหารไว้บริโภคเอง และลดค่าใช้จ่าย

กิจกรรมพาลูกจูงหลานเข้าวัดในเทศกาลหมูบ้าน/วัด

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

คนในชุมชนมีน้ำใจไมตรีต่อกัน และร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆที่สำคัญทางศสานนา

กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ปลูกต้นไม้ในวันสำคัญ

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค2560.

ทุกครัวเรือน

เป็นการรักษาสภาพแวดล้อมในร่มรื่น

จัดชุดเฝ้าระวังยาเสพติด

ไม่ใช้งบประมาณ

ม.ค.-ธ.ค.2560

ทุกครัวเรือน

เป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน

โครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน

2,000 บาท

ก.ค.-ส.ค.2560

ผู้นำสตรี

 

ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน  ๔๐๐ ดอก

กิจกรรม/โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาดหน่วยงานราชการต่างๆ

 

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

 

งบประมาณ

        ว/ด/ป

ทีดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

 

ผลที่เกิดขึ้น

การก่อสร้างคลองระบายน้ำ

๕๐๐,๐๐๐

ม.ค.-ธ.ค.๒๕๖๐

จากบ้านนายประมวล เทพศรีหา ถึงบ้านนางวิลัก ชาธิพา ระยะทาง ๘๐๐ เมตร

มีคลองระบายน้ำทั่วถึง

โครงการเพิ่มถนนคอนกรีต

๒๐๐,๐๐๐

ม.ค.-ธ.ค.๒๕๖๐

จากบ้านนายเริม ศรีวิชาถึงบ้านนางลิมทองสุวรรณศรี ระยะทาง ๑๐๐ เมตร

เส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย

โครงการสัมมาอาชีพ

๑๖๐๐๐

ม.ค.-ธ.ค

2560.

๒๐ ครัวเรือน

ครัวเรือนเป้าหมายเกิดทักษะในการประกอบอาชีฟ

ไฟส่องสว่างทาง

๒๐๐,๐๐๐

ม.ค.-ธ.ค.

2560

หน้าบ้านนางจินตนา สุวรรณศรี ระยะทาง ๘๐๐ เมตร

มีไฟฟ้าส่องสว่างทางอย่างทั่วถึง

โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร

๒๑๙,๐๐๐

ม.ค.-ธค.

2560

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์-แปรรูปอาหารสัตว์

-มีกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตใช้เองในชุมชนลดต้นทุนการผลิต

กลุ่มอาชีพทำดอกไม้จันทน์

๑๐,๐๐๐

ม.ค. -ธค.2560

สมาชิกสตรี

20 คน

-มีกลุ่มอาชีพประดิษฐดอกไม้จันทน์

ส่งเสริมกลุ่มอาชีพเสื้อเย็บมือ

๑๐,๐๐๐

ม.ค. -ธค.2560

สมาชิกกลุ่มสตรี

20 คน

-สตรีมีทักษะและมีรายได้เพิ่มขึ้น

วิเคราะห์ศักยภาพหมู่บ้านและทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

 

 

บ้านคำเขือง เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีความสามัคคี ปรองดอง และมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

ทิศทางการพัฒนาของหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนที่เห็นผลเป็นรูปธรรม เป็นหมู่บ้านเกษตรผสมผสาน ที่ส่วนใหญ่ปลูกพืชผักบริโภคเอง และผลิตปุ๋ยใช้เองและผลิตจำหน่ายในชุมชน มีกองทุนชุมชนในหมู่บ้านหนุนเสริมในการประกอบอาชีพเสริมของประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งพึ่งพาจากปัจจัยภายนอกน้อยมาก และมีกลุ่มอาชีพที่สามารถเป็นต้นแบบขยายผลให้ครัวเรือนในชุมชนได้เรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญา เช่น การทำเสื้อเย็บมือ การจักสาน  เป็นต้น

 

การวิเคราะห์จากโปรแกรม Community Information Radar Analysisหรือ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศสำคัญของบ้านคำเขือง หมู่ที่ ๓ ตำบลคำอาฮวน

จากการสำรวจ ข้อมูล จปฐ.  ปี 2559 พบว่าหมู่บ้าน ตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ คือตัวชี้วัดที่ ข้อ ๒๕. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา ตัวชี้วัดที่ ข้อ 26 คนในครัวเรือนไม่สบบุหรี่และจากข้อมูล กชช.2ค. ปี 2558  โดยมีตัวชี้วัดเป็นปัญหามาก (ระดับคะแนน ๑) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ๘) การมีงานทำ๕) การกีฬา๗) การได้รับการศึกษา2๑) การเรียนรู้โดยชุมชนตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี ๔ ตัวชี้วัด คือ๔) น้ำเพื่อการเกษตร๖) การมีที่ดินทำกิน๒๙) การใช้ประโยชน์ที่ดิน๓๓) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชนโดยนำข้อมูลที่ได้มา บันทึกลงโปรแกรม Community Information Radar Analysis เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพเป็นอันดับแรก อันดับ 2 ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชน อันดับ 3 ปัญหาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชุมชน อันดับ 4 ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน และอันดับ 5ปัญหาสารสนเทศเพื่อการจัดการความเสี่ยงชุมชน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ทางหมู่บ้านได้ส่งเสริมงาน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ประสานการตลาดและประสานแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สนับสนุนการบริหารจัดการโครงการให้เป็นและทำได้ ส่งเสริมให้ประชาชนออมทรัพย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view