http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,792
เปิดเพจ51,784
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านนาคำน้อย ม.6 ต.คำป่าหลาย

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

 (Village Development Report)

บ้านนาคำน้อย  หมู่ที่ ๖  ตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

..........................................................

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมา

          บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ เดิมมีสภาพเป็นป่ารก มีลำห้วยไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ ห้วยคำน้อย ห้วยคำใหญ่ และห้วยบางทราย อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยสัตว์นานาชนิด ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์ป่า  จึงเป็นแหล่งอาหาร สำหรับผู้ที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณนี้ เป็นอย่างดี ประกอบกับพื้นที่เป็นหุบเขา และไหล่เขา สามารถปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ต่างๆ อย่างได้ผล เนื่องจากดินดีมีความชุ่มชื้นสูง เมื่อประมาณก่อนปี พ.ศ. 2466  ราษฏรชาวบ้านแก้ง ครอบครัวหนึ่งซี่งนำโดย นายตู้  ไชยบัน  พร้อมด้วยนางหงอก   คำลือไช ชาวบ้านสามขา ผู้เป็นภรรยา ได้มาจับจองที่ดินทำกิน บริเวณแห่งนี้ถือเป็นผู้บุกเบิกหรือผู้ก่อตั้ง บ้านนาคำน้อย ต่อมาครอบครัวได้ขยายและมีผู้คนอพยพมาอาศัยมากขึ้น จึงเกิดเป็นชุมชนหมู่บ้านและใช้ชื่อ ลำห้วยซึง เปรียบเสมือนสายธารแห่งชีวิต ของทุกคน ที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ และเรียกชื่อบ้านนาคำน้อย ตามชื่อของลำห้วยคำน้อย คำว่าคำ แปลเป็นภาษาของชาวอีสาน(ที่ใช้เรียกผืนดินบริเวณที่น้ำไหล ซึมซับอยู่ตลอดปี ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำ โดยทั่วไป บ้านนาคำน้อยได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นหมู่ที่ 6  ของตำบล

คำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

ที่ตั้ง

ที่ตั้งอยู่ทางทิศ  ตะวันตก   ของตำบลคำป่าหลาย   อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหาร 

ระยะทางประมาณ   25    กิโลเมตร 

-  ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลชะโนดน้อย

-  ทิศใต้   ติดกับ  ตำบลบ้านโคก

-  ทิศตะวันออก  ติดกับ  บ้านคำป่าหลาย   1   ตำบลคำป่าหลาย

                   -  ทิศตะวันตก   ติดกับ  ตำบลหนองแคน

สภาพทางกายภาพ/สภาพภูมิประเทศ/สภาพภูมิอากาศ

  เนื้อที่หมู่บ้านทั้งหมด จำนวน  3,108   ไร่    แยกเป็น

                             -  พื้นที่ทำการเกษตร   3,008   ไร่                 

-   พื้นที่อยู่อาศัย   100   ไร่

                             -  พื้นที่สาธารณะ     475         ไร่               

-    พื้นที่เลี้ยงสัตว์     475     ไร่

                             -   พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์    470    ไร่

โครงสร้างทางประชากร

          บ้านนาคำน้อย มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒๒๙ ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด ๖๑๗ คน เป็นชาย ๒๐๔ คน  เป็นหญิง ๓๑๒ คน ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานและวัยภาระที่มีสุขภาพแข็งแรง

การศึกษา

          ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ม.๓  ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมากได้ส่งเสียบุตรเรียนต่อในระดับที่สูงกว่าภาคบังคับเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์  มีอัตราการจบการศึกษาชั้นสูงจำนวนมากขึ้น            

สาธารณสุข

          ห่างจาก รพ.สต.คำป่าหลาย ประมาณ ๕ กม. มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๑๓ คน แพทย์ประจำตำบล  1  คน มีศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน  มีการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขโรคระบาดและโรคติดต่อตามโอกาสที่ประสบ  และนโยบายจากภาครัฐ  มีการบริการตรวจสุขภาพประจำปี                                                        

ทรัพยากร

          มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ  ป่าไม้  และพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก  มีทิวทัศน์สวยงามมีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุเหมาะแก่การเพาะปลูก

จุดเด่นและปัจจัยการพัฒนา

          -  มีทรัพยากรป่าไม้ภูเขา  ลำห้วย  อ่างเก็บน้ำ  มีภูมิทัศน์สวยงาม

          -  ประชาชนมีความสามัคคี  มีความขยัน  มานะ  อดทน  ให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น

          -  ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ  มีนิสัยขยัน ซื่อสัตย์  มีคุณธรรม  อดออม  และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากบรรพบุรุษตลอดมา

          -  ประชาชนมีความกระตือรือร้นในการสร้างงาน  สร้างรายได้  ใช้เวลาให้คุ้มค่า

          -  สภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง

          -  ประชาชนมีอาชีพเสริม  และมีการพึ่งพาตนเองได้

          -  มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งมีการบริหารจัดการที่ดี

          -  ประชาชนไม่ติดอบายมุข  การพนัน  สิ่งที่สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

          -  ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเยาวชน  การมั่วสุม  ยาเสพติด  การลักขโมย  และการล่อลวง

          -  มีการบริหารจัดการชุมชนโดยประชาชนมีส่วนร่วม

          -  ประชาชนมีสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน  มีความหวงแหนและเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน

ส่วนที่  2  วิถีชีวิตชุมชนที่สะท้อนถึง  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้

วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชุมชน

          ชาวบ้านนาคำน้อย มีการดำรงชีวิตด้วยวิถีดังเดิมประยุกต์ตามยุคสมัยแต่ยึดแบบดั่งเดิมเป็นหลักวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านนาคำน้อย มุ่งเน้นที่การเกษตรเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ไว้สำหรับบริโภค และจำหน่ายให้กับตลาด  ประเพณีและความเชื่อของชาวบ้านนาคำน้อย เป็นแบบชาวไทยอีสานทั่วไป นับว่ามีส่วนช่วยทำให้การดำรงชีวิตของสังคมมีความสงบร่มเย็นความเชื่อเรื่องภูตผี  เทพาอารักษ์ ถูกกำหนดขึ้นด้วยจุดประสงค์แฝงเร้น  ให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น  สร้างแหล่งอาหาร  พืชพันธุ์อันอันอุดมสมบูรณ์  และช่วยรักษาป่า  รักษาแหล่งน้ำให้กับชุมชนหลาย ๆ ประเพณีมีขึ้น

เพื่อรวมใจของคนในชุมชนสร้างขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพและภูมิปัญญาของท้องถิ่นอันทรงคุณค่า  เช่น

-  การบายศรีสู่ขวัญ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ได้รับการบายศรีสู่ขวัญ ผูกแขนด้วยฝ้ายขาว  และการ  

   กล่าวให้พร  จากผู้ผูกแขนให้  การผูกแขนให้คำมั่นสัญญา  การขอขมาลดหย่อนผ่อนโทษ

-  การถือศักดิ์ผู้ใหญ่น้อย ผู้อาวุโส พระผู้รู้ พ่อปู่แม่ย่า พ่อตาแม่ยาย เขยกกเขยหล้า และศักดิ์ ใน เครือญาติ

          -  การเลี้ยงผีเชื้อ  การทำกองบุญให้  มีเครื่องใช้อาหาร  อุทิศให้  พร้อมได้ลูกหลานบวชจูงส่งศรัทธา

          -  ผีนาผีไร่พื้นที่เพาะปลูกกสิกรรม  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ช่วยให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์

         -  การเอามื้อเอาเวน  คือการเลือกวันที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ   หรือ           

   พิธีกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน  การขึ้นบ้านใหม่   การเผาศพ  เป็นต้น

         -  การสืบทอดวิชาสัมมาชีพต่าง ๆ เช่น  การจักสาน  การทอผ้า

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการสืบสานถ่ายทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากผู้หลักผู้ใหญ่สู่บุตรหลานคนรุ่นหลังเพื่อให้ภูมิปัญญาวัฒนะธรรมอันดีสืบไป  ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ  การทำอุปกรณ์เครื่องมือประกอบอาชีพ การหาปลา  การล่าสัตว์  การหาของป่า  การดำรงครอบครัว  การจักสาน  ช่างไม้  กิจกรรมทางสังคมประเพณี  หมอลำ  หมอ

แคน  พิธีกรรม  หมอเหยา  ยาสมุนไพร  หมอสูต  การบำรุงศาสนา และอื่น ๆ ได้ถ่ายทอดอย่างถูกต้องแบบดั้งเดิมให้คงอยู่กับชุมชนต่อไป

การประกอบอาชีพ และ รายได้

          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์ ทำประมง  รับจ้างในเมือง  ร้านค้าร้านอาหาร  เป็นอาชีพหลัก  และอาชีพเสริม  จักสาน  ทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ  หาของป่า  เป็นการสร้างรายได้สร้างงานในเวลาว่างจากงานหลัก  ด้วยความเอื้ออำนวยของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฤดูกาล  ไม่ว่าจะเป็นกาเก็บหน่อไม้  พืชผักจากป่า เห็ด  การเก็บดอกหญ้ามาทำเป็นไม้กวาด  มาจำหน่ายให้กับผู้สัญจรผ่านไปมา  สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นเป็นอย่างดี  พอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้บุตรหลานไปโรงเรียน 

การบริหารชุมชน

          การบริหารจัดการชุมชนหมู่บ้าน  บ้านนาคำน้อย  หมู่ที่ ๖  มี  5  คุ้ม  มีผู้ใหญ่บ้าน 1  คน  ผู้ช่วย  2  คน  คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำอื่น ๆ กระจายอยู่ทั้ง  ๕  คุ้ม   มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี  มีการประชุมโดยผู้นำหมู่บ้านเป็นประจำทุกเดือนเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์แก่ประชาชน  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นอย่างเสมอภาคและรับรู้ร่วมกัน

 

                                   การประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖     

๒.๑ ผลจากการสำรวจข้อมูล  จปฐ. 

          โดยได้วิเคราะห์และสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน ตามตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานทั้ง ๕ หมวด ๓๐ ตัวชี้วัด ดังนี้

ผ่านเกณฑ์  ๒๕  ตัวชี้วัด    ไม่ผ่านเกณฑ์  ๕  ตัวชี้วัด  ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ ๔  ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะปลอดภัยและได้มาตรฐาน  จากจำนวนครัวเรือนที่สำรวจทั้งหมด ๒๒๗ ครัวเรือน ปรากฏว่ามีครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ ในหมู่บ้าน จำนวน ๓ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑.๓๒ จากเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐ ผลการเทียบเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน ๓ ครัวเรือน

ตัวชี้วัดที่ ๑๒ ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ  จากจำนวนครัวเรือนที่สำรวจทั้งหมด ๒๒๗ ครัวเรือน ปรากฏว่ามีครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ ในหมู่บ้าน จำนวน ๓๔ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๘๕ จากเป้าหมายร้อยละ ๙๕ ผลการทียบเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน ๒๐ ครัวเรือน

ตัวชี้วัดข้อที่ ๒๐ คนอายุ ๑๕-๖๐ ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ จากจำนวน ๒๒๙ ครัวเรือน ที่สำรวจทั้งหมด ๓๙๘ คน ปรากฏว่ามีคนที่ผ่านเกณฑ์  ในหมู่บ้าน  จำนวน ๓๙๑ คน

คิดเป็นร้อยละ ๑.๗๖ จากเป้าหมายร้อยละ 100 ผลการเทียบเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน ๗ ครัวเรือน

 ตัวชี้วัดที่ ๒๕ คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา(ยกเว้นดื่มเป็นครั้งคราวฯ) จากจำนวนคนที่สำรวจทั้งหมด ๖๑๗ คน ปรากฏว่ามีคนที่ผ่านเกณฑ์  ในหมู่บ้าน จำนวน ๖๐๒  คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๔๓ จากเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐ ผลการเทียบเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน ๑๕ คน

ตัวชี้วัดที่ ๒๖ คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ จากจำนวนครัวเรือนที่สำรวจทั้งหมด ๒๒๙ คน ปรากฏว่ามีครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ ในหมู่บ้าน จำนวน ๕๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๗๒ จากเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐

ผลการเทียบเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน ๖๐ ครัวเรือน

.๒  ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ระดับหมู่บ้าน (ข้อมูล กชช .๒ค.)

             โดยมี  สภาพปัญหาของหมู่บ้าน  มีดังนี้

               ๑) ด้านโครงสร้าง 

                   ข้อ (๑) ถนน : ระดับ ๒  ถนนในหมู่บ้านบางสายเป็นถนนดินลูกรัง สภาพ

เป็นหลุมเป็นบ่อไม่สะดวกต่อการสัญจรไปมาของประชาชนในช่วงฤดูฝน

                   ข้อ (๔ ) น้ำเพื่อการเกษตร  :  ระดับ  ๒  น้ำสำหรับใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีน้อยและตื้นเขินกักเก็บน้ำได้น้อย

                   ข้อ (๗ ) การติดต่อสื่อสาร  :  ระดับ  ๒  หมู่บ้าน/ชุมชน มีอุปกรณ์เพื่อการติดต่อสื่อสาร แต่ไม่ค่อยมีสัญญาณ มีเป็นบางแห่ง

                ๒) ด้านการประกอบอาชีพและมีงานทำ

                    ข้อ (๘) ผลผลิตจากการทำนา : ระดับ ๒ การทำนาของประชาชนในหมู่บ้าน ได้ผลผลิตเป็นข้าวเปลือก โดยเฉลี่ย ประมาณ 350 กิโลกรัม ไร่ เนื่องจากขาดพันธุ์ข้าวที่ดี มาปลูก และถูกศัตรูพืชรบกวน

                ๓) ด้านสุขภาพและอนามัย

                   ข้อ (๑๗)  การกีฬา : ระดับ  ๒  มีการแข่งขันกีฬาในหมู่บ้าน หรือการแข่งขันกีฬา ระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้านภายในตำบล และมีการฝึกสอนกีฬาให้กับประชาชน ระหว่าง  ๓ – ๖ ครั้ง ต่อปี

               ๕) ด้านความเข็มแข็งของชุมชน     

                   ข้อ (๒๖)  การเรียนรู้โดยชุมชน : ระดับ ๒ ประชาชนในหมู่บ้าน มีแหล่งเงินทุนไม่เพียงพอในการกู้ยืมมาดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ

              ๖) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ข้อ (๒๖)  คุณภาพดิน : ระดับ ๒  สภาพดินที่ประกอบอาชีพการเกษตรทั้งทำนา  ทำไร่  เป็นดินที่ขาดอินทรียวัตถุผ่านการใช้ประโยชน์ยาวนาน  ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน  ทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลง  ทำให้ดินจืด

                   ข้อ (๒๘) คุณภาพน้ำ : ระดับ ๑ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในหมู่บ้าน มีคุณภาพน้ำเหมาะสมดีพอใช้ ระหว่าง ๖๐ – ๘๐ ของแหล่งน้ำที่อยู่ในหมู่บ้าน

                   ข้อ (๒๙) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น : ระดับ ๑ การปลูกป่าของคนในชุมชนยังไม่มากเพราะขาดการสนับสนุนกล้าไม้ยืนต้นมาปลูกในหมู่บ้าน และบริเวณที่สาธารณะ/ป่าชุมชน

                   ข้อ (๓๑) ความปลอดภัยจากยาเสพติด : ระดับ ๒ หมู่บ้านมีกลุ่มเสี่ยงที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเฉพาะเยาวชนกับวัยแรงงาน

สรุปสภาพปัญหา

           -  มีปัญหามาก  ๑  ตัวชี้วัด มีปัญหาปานกลาง ๑๑ ตัวชี้วัด มีปัญหาน้อย ๑๘ ตัวชี้วัด -  ไม่มีข้อมูล ๓ ตัวชี้วัด

ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน นาคำน้อย  หมู่ที่ ๖ ตำบลคำป่าหลาย จัดเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ  ๓  เพราะมีตัวชี้วัดที่มีปัญหามากเพียง  ๑  ตัวชี้วัด  ไม่เกินเกณฑ์  ( จำนวน  ๐  -  ๕  ตัวชี้วัด )

 

สรุปข้อมูลชุมชน/หมู่บ้าน

หมู่ที่ 6  บ้านนาคำน้อย  ตำบลคำป่าหลาย

อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

ข้อมูล จปฐ.

ร้อยละที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

หมวดที่ 1 สุขภาพ มี 7 ตัวชี้วัด

 

1. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนัก 2,500 กรัม ขึ้นไป

0

 

2. เด็กแรกเกิด ได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน

0

 

3. เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

0

 

4. ครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน

3

 

5. ครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม

0

 

6. คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี

0

 

7. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

0

 

หมวดที่ 2 สภาพแวดล้อม มี 7 ตัวชี้วัด

 

8. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และบ้านมีสภาพคงทนถาวร

0

 

9. ครัวเรือมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 5 ลิตรต่อวัน

0

 

10. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 45 ลิตรต่อวัน

0

 

11. ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ

0

 

12. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ

34

 

13. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยและภัยธรรมชาติอย่างถูกวิธี

0

 

14. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

0

 

หมาดที่ 3 การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด

 

15. เด็กอายุ 3-5 ปีได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน

0

 

16. เด็กอายุ 6-14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

0

 

17. เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า

0

 

18. คนในครัวเรือนที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ
     ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ

0

 

19. คนอายุ 15-59 ปี อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้

0

 

หมวดที่ 4 การมีงานทำและรายได้ มี 4 ตัวชี้วัด

 

20. คนอายุุ 15-59 ปี มีอาชีพและรายได้

7

 

21. คนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาชีพและมีรายได้

0

 

22. รายได้เฉลี่ยของคนในครัวเรือนต่อปี

0

 

23. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน

0

 

หมวดที่ 5 ค่านิยม มี 8 ตัวชี้วัด

 

24. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา

15

 

25. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี

60

 

26. คนอายุ6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

0

 

27. ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน

0

 

28. ผู้พิการ ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน

0

 

29. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ หรือภาคเอกชน

0

 

30. ครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของชุมชน หรือท้องถิ่น

0

 

31. ครอบครัวมีความอบอุ่น

0

 

 

สรุปข้อมูลชุมชน/หมู่บ้าน

หมู่ที่ 6  บ้านนาคำน้อย  ตำบลคำป่าหลาย

อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร

                   ข้อมูลกชช.2ค

            ระดับปัญหา

ด้านที่1 ด้านโครงสร้าง

1. ถนน

2

2. น้ำดื่ม

3

3. น้ำใช้

3

4. น้ำเพื่อการเกษตร

2

5. การไฟฟ้า

3

6. การมีที่ดินทำกิน

3

7. การติดต่อสื่อสาร

2

ด้านที่ 2 ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

8. การมีงานทำ

2

9. การทำงานในสถานประกอบการ

1

10. ผลผลิตจากการทำนา

 

11. ผลผลิตจากการทำไร่

3

12. ผลผลิตจากการทำการเกษตรอื่นๆ

 

13. การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

3

14. การได้รับประโยชน์จากการมีสถานที่ท่องเที่ยว

 

ด้านที่ 3 สุขภาพอนามัย

15. ความปลอดภัยในการทำงาน

3

16. การป้องกันโรคติดต่อ

3

17. การกีฬา

2

ด้านที่ 4 ความรู้และการศึกษา

18.ระดับการศึกษาของประชาชน

3

19. อัตราการเรียนต่อของประชาชน

3

20. การได้รับการศึกษา

2

ด้านที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน

21. การมีส่วนร่วมของชุมชน

2

22. การรวมกลุ่มของชุมชน

3

23. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

3

-+                                                                -๙-

 

24. การเรียนรู้โดยชุมชน

3

25. การได้รับความคุ้มครองทางสังคม

3

ด้านที่ 6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

26. คุณภาพดิน

2

27. การใช้ประโยชน์ที่ดิน

3

28. คุณภาพน้ำ

2

29.การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

2

30. การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

3

ด้านที่ 7 ความเสี่ยงของชุมชนและภัยภิบัติ

31. ความปลอดภัยจากยาเสพติด

2

32. ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

3

33. ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

3

ข้อมูลอื่นๆ

                      ระดับปัญหา

สารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอาชีพ

ต้องการรับการสนับสนุนอาชีพเสริม

2

ต้นทุนในการผลิตสูง

1

ปรับปรุงคุณภาพดิน

1

ลดการใช้สารเคมี

2

ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

2

 

 

 

 

สารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชน

เพิ่มผลผลิตทางการเกษคร

2

การฟื้นฟูและปลูกป่า

2

การรักษาพันธุ์สัตว์ในห้วย

2

กลุ่มเครือข่าย กองทุนในชุมชน

3

ต้องการรับการสนับสนุนเงินทุน

1

 

 

 

 

สารสนเทศเพื่อการจัดการความเสี่ยงชุมชน

ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือน

2

-๑๐-

การรักษาความสะอาดในชุมชน

3

สุขภาพร่างกายของคนในชุมชนอ่อนแอ มีโรคภัย(เบาหวาน)

2

การณรงค์กำจัดลูกน้ำและยุงลาย

3

 

 

 

 

 

 

สารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน

หนี้สิน

1

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของคนยากจน

2

ราคาสินค้าการเกษครต่ำ

1

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

2

 

 

 

 

 

 

สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชุมชน

ต้องการซ่อมแซมถนน

2

มีตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตร

2

ขาดความสามัคคีแบ่งพักพวก แบ่งสี

2

ฟื้นฟูวัฒนธรรมในท้องถิ่น

3

ส่งเสริมการเรียนภาษากูย(ภาษาถิ่น)

3

 

 

 

 

 

ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาคุณภาพชึวิต

Community Radar Diagram:

 

 

 

ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิต

Community Radar Analysis

ส่วนที่  3  กิจกรรมครัวเรือน กลุ่ม องค์กรชุมชน

          ชาวบ้านนาคำน้อย  หมู่ที่  ๖  มีการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิมประยุกต์มีสายสัมพันธ์เครือญาติอย่างแนบแน่น  ยึดถือเครือญาติต่อจากบรรพบุรุษ สืบมามีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนอย่างเอาใจซึ่งกันและกัน  สำหรับการดำรงครอบครัวนั้นมีความอบอุ่นเป็นสายใยในการเลี้ยงดูบุตรหลานสั่งสอนให้เป็นคนดีมีคุณภาพของสังคม  มีการดูแลผู้สูงอายุ  และคนพิการ  เป็นอย่างดี  มีการเคารพสิทธิ์ของกันและกัน

          บ้านนาคำน้อย  หมู่ที่  ๖  ได้มีการจัดทำแผนชุมชนโดยให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมเพื่อไม่กระทบกับใครจึงได้มีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน

          มีการประชาคมหมู่จากองค์กรท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลนาโสกเพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชนบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖  เพื่อจัดทำแผนพัฒนาหนึ่งปี  แผนพัฒนาสามปี  และยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล  ซึ่งประชาชนมีความสนใจและเข้าร่วมเป็นอย่างดี  ประชาชนมีความเข้าใจในกฎระเบียบของหมู่บ้าน  มีหลายหน่วยงานเข้ามาเสริมความเข้มแข็งในการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อรูปแบบที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเป็นแบบอย่างให้ชุมชนใกล้เคียง เพราะว่าชาวบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖  มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว  ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะการทำในวิถีชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  ยิ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้เข้าใจใจปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นวิชาการมีการคิดคำนวณวางแผนให้ประสพความสำเร็จยิ่งไปอีก  หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ชาวบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖ ยึดเป็นวิถีชีวิต ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน คือลดรายจ่ายการพึ่งตนเอง  โดยการเพาะปลูก

สภาพเศรษฐกิจ

          -  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำนา  ทำสวน  ปลูกผัก  พืชฤดูแล้ง  เลี้ยงสัตว์ มีการประกอบอาชีพมีรายได้ทุกครัวเรือน

          -  ผลผลิตที่ได้จากชุมชนที่ใช้เองและส่งขายภายนอกไม่ว่าจะเป็น  ข้าว  ผัก  สัตว์เลี้ยง  เครื่องจักสาน

สภาพทางสังคม

          -    สภาพบ้านเรือนของบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖ มีความมั่นคงถาวร มีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบถูกสุขลักษณะครอบครัวมีความอบอุ่น   และไม่มีปัญหาครอบครัว

          -    ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี  มีความตระหนักต่อสุขภาพอนามัย  มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ มีการป้องกัน  และรณรงค์ป้องกันโรคระบาดต่าง  ๆ

          -    เยาวชนได้การศึกษาภาคบังคับทุกคนประชาชนในช่วงอายุ  15- 60  ปี  อ่านออกเขียนได้

          -    ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดสุรา  บุหรี่  และการพนัน

          -    มีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ  1  ครั้ง

          -    มีการอบรมบุตรหลาน มีการดูแลผู้สูงอายุ  และคนพิการเป็นอย่างดี

          -    มีกลุ่มร้านค้าชุมชนจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีพให้กับสมาชิกและคนในหมู่บ้านในราคาที่ถูก  และมีการแบ่งผลกำไรให้กับสมาชิก

          -    มีศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนของกลุ่มแม่บ้าน

          -    มีการปลูกพืชฤดูแล้งเป็นอาชีพเสริมอีกทั้งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖ หลังฤดู   เก็บเกี่ยวอีกทั้งยังมีระบบน้ำที่สะดวกทั่วถึง

          -    มีการถ่ายทอดวิธีการประกอบอาชีพให้บุตรหลานได้ช่วยงานและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

กลุ่ม / องค์กรชุมชน

          การรวมกลุ่มในบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๖ นั้นมีมากไม่ว่าจะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การรวมกลุ่มล้วนมีความสำคัญเพราะกลุ่มจะเอื้อประโยชน์ต่อคนไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ กลุ่มเครือญาติ  กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ  กลุ่มอาสาสมัคร  กลุ่มเยาวชน และกลุ่มทางธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อร่วมกิจกรรมตอบสนองเพื่อประโยชน์ต่อกัน

และกันในกลุ่ม ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์  แปรรูปวัตถุในพื้นที่เป็นสินค้า  ประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย  ใช้สินค้าที่ไม่ฟุ้งเฟือย มีการวางแผนการใช้เงิน  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ  ใช้ภูมิปัญญาในการ                                             

ประกอบอาชีพ  มีการออมเงิน  ฝากธนาคาร และกับกลุ่มต่าง ๆ  ในหมู่บ้าน  ทั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มสัจจะ  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน  และกองทุนอื่น ๆ การเพิ่มรายได้ จากการขายผลผลิต  การทำอาชีพเสริม การพัฒนาอาชีพเพิ่มประสิทธิภาพ การทำเกษตรผสมผสานหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากดิน การใช้เงินอย่างประหยัดคุ้มค่ากับความจำเป็นไม่ใช้เงินเกินตัว  พยายามไม่เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ  ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข สุรา  ยาเสพติด  การพนัน  การดำรงชีวิตด้วยความขยัน  ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน  มีคุณธรรม ประกอบอาชีพเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  และประหยัด  รักษาสิ่งแวดล้อม  จัดบ้านเรือนสะอาดเป็นระเบียบน่าอยู่อาศัย  ถูกสุขลักษณะ  สมาชิกในครัวเรือนมีการปฏิบัติตามกฎของหมู่บ้าน  ปฏิบัติตามหลักศาสนา ร่วมกิจกรรมกับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรึกษากันในครอบครัว วางแผนชีวิต แผนครอบครัว  มีการวิเคราะห์การใช้เหตุผลและหลักประชาธิปไตย   ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เอื้ออาทรต่อกันในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน  ช่วยเหลือสังคม  ดูแลเด็ก   ผู้สูงอายุ คนพิการ  และผู้ป่วยเป็นอย่างดี  มีการพัฒนาสมาชิกให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ทันเหตุการณ์  และเพิ่มโอกาสคนในชุมชนในการพัฒนา เช่น  พัฒนาด้านความรู้ เงินทุนหมุนเวียน

ส่วนที่  4  บทสรุป

          การมีส่วนร่วมของชุมชนและการบริหารจัดการชุมชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและรับรู้ในทุกขั้นตอน  เน้นให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น  ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและรับรู้ในทุกขั้นตอน  เน้นให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น  ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล  โดยให้ตรงกับการแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนเอง  มีการตั้งกฎระเบียบหมู่บ้านเป็นแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน มีความเชื่อมโยงจากราษฎรกับผู้นำและหน่วยงานภาครัฐ  การทำแผนชุมชน  เป็นแผนระดับหมู่เพื่อคนในชุมชนมีแนวการก้าวไปหน้าด้วยกันอย่างมีระบบ  แผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการประชาคมผู้นำและประชาชนทุกครัวเรือน เพื่อให้ข้อมูลความต้องการที่แท้จริงโดยให้ประชาชนได้เสนอความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความตกลงร่วมกันลดปัญหาข้อขัดแย้ง  นำไปเป็นแผนพัฒนาที่ปฏิบัติจริงแล้วเกิดประโยชน์ สูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view