http://mcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 แวะมาชม

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม34,785
เปิดเพจ51,777
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับหมู่บ้าน (VDR/TDR)

@เมืองมุกดาหาร

OTOP

ข้อมูลทั่วไป

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ประจำปี ๒๕๕๙

โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร : CDD Work Smart

KM Blog เมืองมุกดาหาร

ผู้นำ อช.

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านโพนสวาง ม.6 ต.ดงเย็น

1. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.1   ประวัติหมู่บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6

ชาวบ้านดงเย็นเป็นคนไทยเผ่าไทย้อ อพยพมาจากบ้านกองแก้วมหาชัยฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง 

เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านขอนขว้าง(เป็นบ้านร้าง)อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านนาอุดม ตำบลนาอุดม  อำเภอนิคมคำสร้อย  ในการตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านขอนกว้างนั้น  หลายปีต่อมาประชากรและจำนวนพลเมืองได้เพิ่มขึ้น  จนกระทั่งประมาณ  250 -300  ครอบครัว  ประชาชนขาดความรู้ด้านสุขภาพอนามัยเป็นเหตุให้เกิดโรคอหิวาตกโรคขึ้น  ประชาชนตายอย่างกะทันหัน  แต่ชาวบ้านขาดความรู้ด้านนี้ ประกอบกับคนเผ่านี้มีความเชื่อด้านภูตผี ปีศาจมาก  จึงเข้าใจว่าการตายของประชาชนนั้นเป็นเพราะพวกผี  ปีศาจ  ทำร้ายจึงได้พากันอพยพแตกบ้านแตกเมือง  มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโพนสวางจนถึงปัจจุบัน

2. อาณาเขต

-          ทิศเหนือ          ติดกับ  บ้านดงเย็น หมู่ที่ 1 ต.ดงเย็น อ.เมืองฯ จ.มุกดาหาร

-          ทิศตะวันออก     ติดกับ  บ้านสามขัวหมู่ที่ 4 ต.ดงเย็น อ.เมืองฯ จ.มุกดาหาร

-          ทิศตะวันตก      ติดกับ  บ้านโคกขามเลียนหมู่ที่ 7 ต.ดงเย็น อ.เมืองฯ จ.มุกดาหาร

-          ทิศใต้             ติดกับ  ต.นาอุดม  อ.นิคมคำสร้อย   จ.มุกดาหาร

                

3. สภาพทางกายภาพ/สภาพภูมิประเทศ/สภาพภูมิอากาศ

มีเนื้อที่ประมาณ  4,663  ไร่  เป็นเนื้อที่อยู่อาศัย  350  ไร่  เนื้อที่ทางการเกษตร 

3,863  ไร่  และเนื้อที่สาธารณะ  190  ไร่ 

     ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นที่ราบมีป่าไม้เบญจพรรณ บางแห่งเป็นที่ลุ่มบริเวณริมห้วยบังอี่

ทำให้มีน้ำท่วมที่นาเกือบทุกปี  มีน้ำในลำห้วยบังอี่ไหลผ่านตลอดปี

                        ลักษณะภูมิอากาศ  โดยทั่วไป  มี  3  ฤดู คือ  ฤดูร้อน  ฤดูฝน  ฤดูหนาว

                             บ้านโพนสวาง  หมู่ที่  6  มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  180  ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด  655  คน   เป็นชาย  334  คน  เป็นหญิง  321  คน

 

          บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6 ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 4,663 ไร่ แบ่งตามสภาพใช้งานได้ดังนี้

          พื้นที่ในการเกษตร จำนวน 3,863 ไร่

          พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 350 ไร่

          พื้นที่สาธารณะ/ป่าชุมชน จำนวน 190 ไร่

          พื้นที่วัด จำนวน 20 ไร่

          พื้นที่โรงเรียน จำนวน 14 ไร่ 

         

 

 

 

4. ข้อมูลประชากร

มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  180  ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด  655  คน  จำแนกได้ดังนี้

ชาย จำนวน  334  คน  หญิง จำนวน  321  คน

อาชีพหลัก   ทำนา 

อาชีพรอง   ทำสวน เช่น สวนยางพารา   มันสำปะหลัง  ไร่อ้อย  เกษตรผสมผสาน  ไร่นาสวนผสม

รายได้เฉลี่ย  ๕๘,๐๐๐ บาท ต่อคนต่อปี

การปกครอง  การบริหารหมู่บ้านแบ่งเป็นคุ้ม จำนวน 6 คุ้ม ดังนี้

5. สภาพทางสังคม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง มีพื้นที่ 1,382 ไร่ ครูผู้ดูแล  3  คน จำนวนเด็กนักเรียน แยกชาย 23 คน หญิง 18 คน รวม 41 คน

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง

โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 1 แห่ง  พื้นที่โรงเรียน 54 ไร่  ครูชาย6 คน ครูหญิง 6 คน  จำนวนนักเรียน แยกชาย 87 คน

หญิง 65 คน รวม 152 คน

วัด จำนวน 1 แห่ง  พระ 4 รูป  เสาหลักบ้านดงเย็น จำนวน 1 แห่ง 

ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำตำบล  จำนวน ๑ แห่ง

สำนักสงฆ์ 1 แห่ง พระ2 รูป

 

6. วัฒนธรรมประเพณี

 

ประเพณี

เดือน

 

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

บุญปีใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญข้าวจี่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญพระเวสสันดร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญสงกรานต์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญบั้งไฟ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญซำฮะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญเข้าพรรษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญข้าวประดับดิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญข้าวสาก/บุญออกพรรษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญลอยกระทง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บุญกระฐิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 7. ด้านการบริการพื้นฐานคมนาคม

 

          7.1 หมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างถนน ดงมัน-ดอนตาล ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอเมืองมุกดาหาร จำนวน 24 กิโลเมตร

          7.2 .ถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน จำนวน 1 เส้นทาง คือ ถนนลาดยางจากอำเภอเมืองมุกดาหารถึงบ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6

การไฟฟ้า

7.3 มีการใช้ไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน จากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดมุกดาหาร

ข้อมูลด้านการพัฒนาประกอบด้วย

-          อาสาสมัครป้องกันยาเสพติดหรือตาสับปะรด จำนวน 25 คน

-          อาสาพัฒนาชุมชนหรือ ( อช.) จำนวน 4 คน (ชาย 2 คน /หญิง 2 คน)

-          ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหมู่บ้าน มีคณะกรรมการศูนย์จำนวน 7 คน

-          อาสาสมัครสาธารณสุข  (อสม.) จำนวน 20 คน

-          อาสาสมัคร อพปร. จำนวน  9  คน

-          อาสาสมัครกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน จำนวน 1 คน

-          อาสาประชาธิปไตย จำนวน ๑๐ คน

-          คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน จำนวน 15 คน

-          คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจำนวน 15  คน

-          ชุดรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน 10 คน

-          คณะกรรมการ กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 คน

-          คณะกรรมการเยาวชนหมู่บ้าน จำนวน 5คน

-          คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการหมู่บ้าน  จำนวน 9 คน

7.4 มีการจัดทำเวทีประชาคม มีการจัดทำการประชุม อย่างน้อย12ครั้ง/ปี

-   จัดประชุมชาวบ้านประจำทุกเดือนอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน  รวม 16 ครั้ง

-คณะกรรมการดำเนินการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเมื่อได้รับโครงการทำกิจกรรม ได้ดำเนินการในหมู่บ้าน จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้

7.5 เพิ่มศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านประชารัฐ งบประมาณ 500,000 บาท

7.6 ลานตากผลผลิต งบประมาณ 220,000 บาท

7.8 สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 220,000 บาท

7.9 ขุดลอกหนองสาธารณะ งบ 400,000 บาท

มีการกำหนดกฎระเบียบอยู่ร่วมกันของชุมชน เป็นลายลักษณ์อักษร

- ในการปกครองหมู่บ้านจะใช้กฎเหล็กของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 7 ข้อ

- กฎรองของหมู่บ้านมีจำนวน 9 ข้อ ไว้ในศาลาประชาคมไว้ให้ทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติ

มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพื่อจัดเก็บข้อมูลชุมชน

- ใช่ศาลาประชาคมหมู่บ้านจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง มีข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็ง จำนวน ๑๖ ป้าย ประกอบด้วย

1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำนาน 7 ป้าย

2.กองทุนแม่ของแผ่นดิน จำวน 6 ป้าย

3.ข้อมูล จปฐ. จำนวน 1 ป้าย

4. ข้อมูลคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 1 ป้าย

5.แผนผังศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจำนวน 1 ป้าย

          2.4ชุมชนมีแผนชุมชนกำหนดทิศทาง/เป้าหมาย การพัฒนา

จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อทำแผนชุมชนโดยใช้ข้อมูล จปฐ. ปีงบประมาณ ปีพ.ศ.2559 - 2560 ข้อมูล กชช.2ค ประจำปี 2560 บัญชีครัวเรือน และความต้องการของหมู่บ้านโดยการนำมาทำแผนชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่1 โครงการ /กิจกรรม ที่หมู่บ้านดำเนินการเองทั้งหมด จำนวน 20 กิจกรรม

ส่วนที่2 โครงการ/กิจกรรม ที่ร่วมดำเนินการเป็นบางส่วน จำนวน ๑๐ โครงการ/กิจกรรม

          ส่วนที่3โครงการ/กิจกรรม รัฐดำเนินการทั้งหมด จำนวน   ๕  โครงการ/กิจกรรม

-          มีการปรับแผนทุก 6 เดือน

-          บูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลโดย ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับตำบล/แผนพัฒนาอำเภอเมืองมุกดาหาร

-          บูรณาการโครงการ/กิจกรรม บรรลุในแผน 3 ปี 5 ปี ของเทศบาลตำบลดงเย็นและในข้อบัญญัติของเทศบาลตำบลดงเย็น ปี2560 จำนวน... โครงการ/กิจกรรม คณะกรรมการหมู่บ้านได้ประกาศเจตนารมณ์ในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

ด้านการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสนับสนุนด้านวิชาการด้านการกำจัดศัตรูข้าว มันสำปะหลัง อ้อยเป็นต้น

-  ขึ้นทะเบียนปรับปรุงนาข้าวปี ๒๕๖๐  จำนวน ๑๙๐ ราย จำนวน  ๑,๙๐๐ ไร่

- การยางประเทศไทยจังหวัดมุกดาหาร สนับสนุนวิชาการด้านการกรีด,การดูแลรักษาสวนยางรวมถึง

ช่องทางการตลาด

7.10  มีการจัดเก็บข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลโดยชุมชน

7.11 นำข้อมูล จปฐ. /กชช.2ค /ความต้องการการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านไปดำเนินการด้วย

          -    จัดทำแผนชุมชน บูรณาการแผนชุมชนและแผนพัฒนา 3 ปี 5ปี ของเทศบาลตำบลดงเย็น

-    ส่งเสริมอาชีพ ตามโครงการศาสตร์พระราชา เป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 7 ครัวเรือน

- นำเสนอข้อมูลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ครัวเรือนเป้าหมายทราบเพื่อจะได้ดำเนินการและแก้ไขข้อที่ไม่ผ่านให้ผ่านเกณฑ์ต่อไป

.8. ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ –รัก-สามัคคี

8.1    กิจกรรมที่ส่งเสริมความรักสามัคคี

8.2 ส่งเสริมให้ทุกคนในครัวเรือนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มาใช้ในการดำรงชีวิตจนเป็นวิถี จำนวน 292 ครัวเรือน  ได้ดำเนินการดังนี้

- ปลูกพืชผักสวนครัวคิดเป็นร้อยละ 100

- ประกอบอาชีพเสริม จำนวน 44 ครัวเรือน

- ทำปุ๋ยชีวภาพ ลดต้นทุนการผลิต จำนวน 19 ครัวเรือน

- ประหยัดและมีการออม  จำนาวน 140 ครัวเรือน

 

 

 

8.3    ดำเนินการจัดสวัสดิการ

                    8.3.1 กองทุนหมู่บ้านได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุ จำนวน ๑ ครั้ง ๑๒๐ คน มอบเป็นสิ่งของใช้ จัดทุนการศึกษาให้เด็กเรียนดีและยากจน จำนวน ๓ ทุนๆละ ๕๐๐ บาท รวม ๑,๕๐๐ บาท

8.3.1 มีการสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยใช้กระบวนการชุมชน

                             - จัดให้มีการประณีประนอมข้อพิพาทของประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน ๑๐ ครั้ง โดยคณะกรรมการหมู่บ้านด้านคณะทำงานด้านปกครองและรักษาความสงบโดยมีประธานกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป. เป็นประธาน

ส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทเรื่องที่ดินทำกิน

                             - ใช้หลักการปกครองแบบประชาธิปไตย จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านทุกครั้ง เพื่อให้ทุกคน ได้ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ในการดำเนินงานทุกโครงการ/กิจกรรม และจะต้องใช้เสียงข้างมาก แต่ต้องอยู่ในแนวทางกฏเกณฑ์ของแต่ละโครงการ แต่ก็เคารพเสียงข้างน้อย เช่นกัน จำนวน ๕ ครั้ง

8.4  มีการรักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมเอื้ออาทรและช่วยเหลือกันและกันในชุมชน

                    ๓.๓.๑ การลงแขก เช่น ทำนา สร้างบ้าน เป็นต้น

                    ๓.๓.๒ การแบ่งปันบ้านปู่ย่า ตา ยาย ป้าลุง ทำอาหาร ๑ อย่าง ได้รับประทาน ๓ อย่าง

                    ๓.๓.๓ การร่วมกันช่วยเหลืองานบุญ งานแต่ง  งานศพ เป็นต้น

๔.การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ทางศาสนา และการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ของชุมชน

          ๔.๑ กิจกรรมส่งเสริมให้คนในชุมชน ลด ละ เลิก อบายมุข

                   - รณรงค์งานศพ ปลอดเหล้า

                   - การซื้อหวยลดลง และเลิก ได้ประมาณ 120 ครัวเรือน

          ๔.๒ คนในชุมชนปฏิบัติศาสนกิจ อย่างใด อย่างหนึ่ง ร่วมกัน (ทั้งหมู่บ้าน)

                   -ดำเนินการตามประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ รวม ๑๒ ครั้ง/ปี

          ๔.๓ มีกิจกรรมในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ทุกครั้ง จำนวน ๑๒๐ คน

                   -จัดกิจกรรมตักบาตรทุกวันพระ เดือนละ ๔ ครั้ง

                   -จัดกิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาเพื่อทอดถวายต้นเทียน

                   - จัดกิจกรรมบุญข้าวประดับดิน , ข้าวสาก ทุกปี

          ๔.๔ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล ยกย่องให้เกียรติคนในชุมชน

                   - จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบ ด้านเศรษฐกิจ จำนวน ๓๐  ครัวเรือน

          ๕.การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

          ๕.๑ มีการสงเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวน    คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

          ๕.๒ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ อสม. เป็นองค์กรหลักในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของชุมชน

                   -จัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๒๐ คน รับผิดชอบ ๑๐ หลังคาเรือน / อสม. ๑ คน

                   ๑. คว่ำกะลา ทุกวันศุกร์ เพื่อทำลายลูกยุง

                   ๒ .ชั่งน้ำหนักเด็กทุกวันที่ ๑๐ ของเดือน

                   ๓. ฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคโปลิโอ ในเด็ก ทุกวันที่ ๑๐ ของเดือน เด็กแรกเกิด – ๑๐ ปี จำนวน.....คน

                   ๔. ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดัน ทุกวันศุกร์ จำนวน .............คน เพื่อส่งต่อ รพ.สต.

                   ๕ .เยี่ยมผู้พิการ ,ผู้สูงอายุ,และผู้ป่วยนอนติดเตียง จำนวน ๒ คน

          ๕.๓ กิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ  คนพิการ

                   -ดูแลผู้สูงอายุ ให้ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน ๑๓๐ คน และคนพิการ ได้รับเบี้ยยังชีพ ๔๐ คน

                   -จัดกิจกรรมผู้สูงอายุ ปีละ ๒ รอบ (ครั้งที่ ๑ วันสงกรานต์ ครั้งที่ ๒ วันเนา) มีผู้เข้าร่วม จำนวน ๕๐๐ คน

          ๕.๔ กิจกรรมการส่งเสริมให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง

                   - จัดกิจกรรมผู้สูงอายุรำไม้พอง

                   -จัดกิจกรรมเต้นฮูราฮุบ

๖.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ๖.๑ กิจกรรมส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

                   -ส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน ๒ หลัง

                   -ส่งเสริมการใช้เตาชีวมวล จำนวน ๑ หลัง

          ๖.๒ กิจกรรมการดูแลรักษาปรับปรุงสภาพแวดล้อมป่าชุมชน/ปลูกป่าเพิ่ม

                   - ดำเนินโครงการ ๑ ฝน ๑ คน ๑ ต้น ในเดือน สิงหาคม ของทุกปี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๐๐ คน/ปี/ต้น  ณ สวนสาธารณะ ป่าหนองอ้อ จำนวน ๕ ไร่

                   -ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ จำนวน ๑๐ ไร่

          ๖.๓ มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   -ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์

                   -ใช้น้ำเพื่ออุปโภค และบริโภค ทุกครัวเรือน

๗.การพัฒนาชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มและกิจกรรม มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

          ๗.๑ มีกลุ่ม/องค์กร ในการพัฒนาชุมชน มีความเข้มแข็งและหลากหลาย

ด้านสาธารณประโยชน์ ร้อยละ ๕ เป็นเงิน ๖,๕๒๒.๕๐ บาท

                   - ประธานกองทุนหมู่บ้าน เป็นประธานเครือข่ายคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน  ระดับตำบล

                   - ประธานกองทุนและผู้นำชุมชน ร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน

ระดับตำบล (ศอช.ต.) จำนวน ๓ คน

                   -เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองระดับอำเภอ

จำนวน ๑ ครั้ง

                   -เข้ารับการฝึกอบรมกฎหมายเบื้องต้น เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน จัดโดย สำนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหาร จำนวน ๑ วัน สมาชิกองทุนหมู่บ้านเข้าร่วม จำนวน ๓ คน ๑ วัน

                   - เข้ารับการฝึกอบรมวิทยากร ครู ค. ตามแนวทางศาสตร์พระราชา จำนวน ๘ คน

 

          ๘.การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   ๘.๑ มีการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

โดยมีการจัดกิจกรรม ดังนี้

                   -พัฒนาทำความสะอาดบริเวณหมู่บ้านและทำป้ายคำขวัญ  จำนวน ๒,๕๐๐ บาท

                   -สนับสนุนค่าพาหนะกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการบำบัด เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

                   ๘.๒ จัดกิจกรรมเวรยามภายในหมู่บ้าน จุดพักเข้าเวร  ณ ที่พักสงฆ์หนองอ้อ ทุกวันๆละ คุ้มๆละ ๕ คน

 

กำหนดตรวจความเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ๒ รอบ

                             รอบที่ ๑ เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.

                             รอบที่ ๒ เวลา ๒๓.๐๐ – ๒๔.๐๐ น.

                             รอบที่ ๓ เวลา ๐๒.๐๐ – ๐๓.๐๐ น.

                   ๘.๓ ในรอบปีที่ผ่านมา หมู่บ้านไม่มีผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้เสพ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

                   ๘.๔ หมู่บ้าน ไม่มีคดีลักเล็ก ขโมย คดีอาญา

๙.การพัฒนาเด็กเยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส

                    - จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                    - ร่วมจัดกีฬาต้านภัยยาเสพติด จำนวน ๑ ครั้ง / ปี

                    - สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาแก่เยาวชน ได้แก่ ฟุตบอล ตระกร้อ วอลเล่ย์บอล งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากเทศบาลตำบลดงเย็น

- จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน จำนวน ๑๕ คน และอาสาสมัครกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ๑ คน

ปัญหาอุปสรรค

                   ๑.ปัญหาผลผลิตตกต่ำ เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา , อ้อย

                   ๒.น้ำเพื่อการเกษตรภาคฤดูแล้งไม่เพียงพอ

 

ส่วนที่  ๒ กระบวนการและขั้นตอนการขับเคลื่อนหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนา

           คุณภาพชีวิต ปี ๒๕๖๐

 

                        ๑. การเตรียมการ

๑.๑ จัดทำคำสั่งผู้รับผิดชอบงานสาสนเทศและงานประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชนจังหวัด

       มุกดาหาร ตามคำสั่งจังหวัดมุกดาหาร ที่ ๒๑๒๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕  ธันวาคม ๒๕๕๙

๑.๒ จัดทำแผนการดำเนินงาน ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหาร ที่ มห ๐๐๑๙/ว ๖๗๘๕  ลงวันที่ ๒๙ 

       พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เรื่องการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ

       จังหวัด/อำเภอ ประจำปี ๒๕๖๐

                        ๒. การดำเนินงาน

๒.๑ การสื่อสารเพื่อการรับรู้ จัดส่งคู่มือจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้าน

 

 

       การบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศฯ การจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การประชุม

       ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในวันประชุมเตรียมความพร้อมการ

       ขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ไตรมาส

       ที่ ๑

 

๒.๒ พัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ฯ ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหาร             

       ที่ มห ๐๐๑๙/ว ๑๒๓๐  ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐  เรื่องพัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้

        เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล (Mr.CIA)

                                   

๒.๓ การคัดเลือกหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด ดังนี้

                                                   แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารราคัดเลือก จัดทำเกณฑ์การคัดเลือก แจ้งสำนักงานพัฒนาชุมชน

                                             อำเภอทราบ ประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือก ประกาศผลการคัดเลือก

                                    ๒.๔ ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด

                                             ตามแนวทางการดำเนินงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

                        ๓. การติดตามผล/การรายงานผลการดำเนินงาน

                                    ๓.๑ ติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมตาม

                                                   ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและจังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐

                                                   ไตรมาสละ ๑ ครั้ง

                                    ๓.๒ ติดตามการดำเนินงานโดยกลุ่มงาสารสนเทศการพัฒนาชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง

                                    ๓.๓ รายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด

 

การขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองมุกดาหาร

                        ๑. การเตรียมการ

๑.๑ จัดทำคำสั่งคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนา

                                                   คุณภาพชีวิตตามคำสั่งอำเภอเมืองมุกดาหาร ที่ 73/๒๕๖๐ ลงวันที่ 25 มกราคม  ๒๕๖๐

๑.๒ จัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการ

       พัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเมืองมุกดาหาร

๑.๓ การสื่อสารเพื่อการรับรู้ ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน

       ขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                        ๒. การดำเนินงาน

๒.๑ คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน(VDR) ปี ๒๕๖๐ ตำบลละหนึ่งหมู่บ้าน

       และรายงานการพัฒนาตำบล (TDR)จำนวน ๑ ตำบล ตามแนวทางที่กรการพัฒนาชุมชนกำหนด

๒.๒ พัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ฯ ตามหนังสือจังหวัดมุกดาหาร             

       ที่ มห ๐๐๑๙/ว ๑๒๓๐  ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐  เรื่องพัฒนาทักษะบุคลากรในการใช้

       เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล (Mr.CIA)

                                    ๒.๓ นักวิชากาพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบตำบลประชุมชี้แจงหมู่บ้านเป้าหมายรายงานการพัฒนา

                                           หมู่บ้าน(VDR) เพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำVDR

๒.๔  คณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

        คัดเลือกหมู่บ้านที่จัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้านVDR เพื่อพัฒนาเป็นหมู่บ้านสารสนเทศ

        ต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด

                                    ๒.๔ ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ตาม

                                            แนวทางการดำเนินงานที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

                        ๓. การติดตามผล/การรายงานผลการดำเนินงาน

๓.๑ ติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อ

      การพัฒนาเดือนละ ๑ ครั้ง

         

 

 

การประเมินสถานการณ์ของหมู่บ้านจากข้อมูล

ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค)

            ๑. ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ.

              จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด 31 ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับมาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ แบ่งเป็น 5 หมวดคือ

          หมวดที่ 1 สุขภาพดี                 มี          7      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย             มี          8      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา         มี          5      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า         มี          4      ตัวชี้วัด

          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม           มี          6      ตัวชี้วัด 

แบบสรุปคุณภาพชีวิตของครัวเรือน (จปฐ.1) ปี 2559

          บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6 ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดมุกดาหาร
          หมวดที่ 1 สุขภาพดี มี  7 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
          หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
          หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า มี  4 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม มี 6 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ตัวชี้วัด
                   ข้อที่ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ) จากการสำรวจ จำนวน ๒๖๓ คน  พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๑6 คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๘
                   ข้อที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่  จากการสำรวจ จำนวน ๒๖๓ คน  พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๓๗
 
         ๒. ผลการสำรวจข้อมูล กชช.2ค
              จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน (กชช.2ค) ประจำปี 2558 บ้านแวงใหม่ หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับ 3 (มีปัญหาน้อย/ไม่มีปัญหา) จำนวน ๒๒ ตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหา เป็นดังนี้ ตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี 5 ตัวชี้วัด คือ                  

๕)   การไฟฟ้า
          ๗)   การติดต่อสื่อสาร
          2๖)  คุณภาพดิน
          ๒๙)  การใช้ประโยชน์ที่ดิน
            3๒)  ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

 

 

 

          สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช.2ค ปี 2558

บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6 ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

ตัวชี้วัด

คะแนน

ตัวชี้วัด

คะแนน

1. ด้านโครงสร้าง

    (1) ถนน

    (2) น้ำดื่ม

    (3) น้ำใช้

    (4) น้ำเพื่อการเกษตร

    (5) ไฟฟ้า

    (6) การมีที่ดินทำกิน

    (7) การติดต่อสื่อสาร

 

2

1

3

ไม่มี

3

5. ด้านการมีส่วนร่วมและความเข็มแข็งของชุมชน

(21) การเรียนรู้โดยชุมชน

(22) การได้รับการคุ้มครองทางสังคม

(23) การมีส่วนร่วมของชุมชน

(24) การรวมกลุ่มของประชาชน

(25) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ

ประชาชน

 

 

1

 

3

3

1

2. ด้านสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

    (8) การมีงานทำ

    (9) การทำงานในสถานประกอบการ

    (10) ผลผลิตจากการทำนา

    (11) ผลผลิตจากการทำไร่

    (12) ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่น ๆ

    (13) การประกอบอุตสาหกรรมใน

           ครัวเรือน

    (14) การได้รับประโยชน์จาการมีสถานที่ท่องเที่ยว

 

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

 

ไม่มี

 

6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(26) คุณภาพดิน

(27) คุณภาพน้ำ

(28) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

(29) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

(30) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

 

 

3

2

ไม่มี

ไม่มี

3

 

 

3. ด้านสุขภาพและอนามัย

    (15) ความปลอดภัยในการทำงาน

    (16) การป้องกันโรคติดต่อ

    (17) การกีฬา

 

 

3

2

2

 

7. ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัย

    พิบัติ

(31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด

(32) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

(33) ความปลอดภัยจากความเสี่ยง

       ในชุมชน

 

 

2

3

2

4. ด้านความรู้และการศึกษา

(18) การได้รับการศึกษา

(19) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

(20) ระดับการศึกษาของประชาชน

 

1

3

3

 

 

ระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3

 

          ๓. การวิเคราะห์จากโปรแกรม Community Information Radar Analysis หรือ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศสำคัญของ บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 6 ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

 

 

 

จากการสำรวจ ข้อมูล จปฐ.  ปี 2559 พบว่าหมู่บ้าน ตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ คือ ตัวชี้วัดที่ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา(ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)  ตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สบบุหรี่และจากข้อมูล กชช.2ค. ปี 2558  โดยมีตัวชี้วัดเป็นปัญหาปานกลาง (ระดับคะแนน 2) มี 5 ตัวชี้วัด คือ  ตัวชี้วัดที่ 6) การมีที่ดินทำกินตัวชี้วัดที่ 8)  การมีงานทำ       ตัวชี้วัดที่ 24) การรวมกลุ่มของประชาชน  ตัวชี้วัดที่  31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด ตัวชี้วัดที่ 33) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน โดยนำข้อมูลที่ได้มา บันทึกลงโปรแกรม Community Information Radar Analysis เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหมู่บ้านมีปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพเป็นอันดับแรก อันดับ 2 ปัญหาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชุมชน อันดับ 3 ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน อันดับ 4 ปัญหาด้านสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชน และอันดับ 5 ปัญหาสารสนเทศเพื่อการจัดการความเสี่ยงชุมชน สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ทางหมู่บ้านได้ส่งเสริมงาน ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ประสานการตลาดและประสานแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สนับสนุนการบริหารจัดการโครงการให้เป็นและทำได้ ส่งเสริมให้ประชาชนออมทรัพย์กับสถาบันเงินทุนชุมชน  

 

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศ (5 Ps Key Success Factors)

            1. การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน (Participation)

            2. การสร้างแรงจูงใจและประสานความร่วมมือ (Persuasion)

            3. การพัฒนากิจกรรมและการบริหารจัดการด้านสารสนเทศ (Procession)

            4. การประเมินศักยภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (Performance & Proficiency)

            5. การสร้างช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งาน (Promotion & Publication)

 

ผลที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือนและประชาชน

              จากการจัดทาระบบข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้านและได้เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ครัวเรือนและคนในชุมชนได้รับประโยชน์ดังนี้

              1. คนในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

              2. คนในครัวเรือนมีความสุขมากขึ้น

              3. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

              4. ชุมชนมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

              5. ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้านขับเคลื่อนเป็นกิจกรรม/โครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน

              6. นำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลและช่วยกันรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

              7. การจัดทำข้อมูลคลังความรู้ของหมู่บ้านผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ข้อมูลของหมู่บ้านเกิดการรับรู้ในวงกว้าง

              8. ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชนทุนที่เป็นเงินและไม่ใช่เงิน

              9. มีการจัดสวัสดิการชุมชนทำให้ทุกคนได้รับการดูแลโดยทั่วถึงกัน

            10.หมู่บ้านมีการจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป

 

ผลการดำเนินงานตามโครงการการหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

๑. การใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน

๑.๑ สารสนเทศเพื่อการพัฒนาอาชีพ (การผลิต  การตลาด การจัดการ)  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในพื้นที่ ดังนี้

            ๑)  ด้านการผลิต ส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษ เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

                    เช่น มะเขือเทศ พริก บวบ พืชผักสวนครัว มีแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลเพื่อให้

                    ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต  การเรียนรู้จากข้อมูลสารสนเทศทำให้คนใน

                    ชุมชนทดลองปลูกพืชที่หลากหลาย ทำให้มีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น เกิดสัมมาชีพในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ประชาชนมีรายได้ และสังคมเกิดความสุขอย่างทั่วถึง

            ๒)  ด้านการตลาด  ส่งเสริมช่องทางการตลาดผลผลิตของหมู่บ้าน ทางระบบ IT เช่น Fb   Line ทำให้สามารถ

                    ขายผลผลิตได้เพิ่มมากขึ้น

            ๓)  การบริหารจัดการ  ข้อมูลสารสนเทศทำให้ผู้ผลิตรู้หลักการบริหารจัดการฟาร์มครอบครัวโดยการจัด

                    บันทึกรายรับรายจ่าย ทำให้รู้กำไร-ขาดทุนในการประกอบอาชีพ  ทำให้รู้ทิศทางในการประกอบอาชีพ ทำ ให้ลดความเสี่ยงในการลงทุน

 ๑.๒  สารเทศเพื่อการจัดการชุมชน (สร้างภูมิคุ้มกัน) มีการเชื่อมโยงสารสนเทศการบริหารจัดการชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา

        เยาวชน ในพื้นที่หมู่บ้านตำบลทะเลาะวิวาทกัน กับโรงเรียนหนองแวงวิทยาคม www.nwwit.,ac..th ใช้โครงการโรง

        เรียนคุณธรรม เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียน ทำให้ลดปัญหาดัง

        กล่าวได้

๒. ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

            ต่อครัวเรือนและประชาชน

จากการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้านและได้เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ครัวเรือนและคนในชุมชนได้รับประโยชน์ดังนี้

              1. คนในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

              2. คนในครัวเรือนมีความสุขมากขึ้น

              3. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

              4. ชุมชนมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

              5. ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้านขับเคลื่อนเป็นกิจกรรม/โครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน

              6. นำข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศาสนาวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลและช่วยกันรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่สืบไป

              7. การจัดทำข้อมูลคลังความรู้ของหมู่บ้านผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ข้อมูลของหมู่บ้านเกิดการรับรู้ในวงกว้าง

              8. ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงสารสนเทศเพื่อการจัดการทุนชุมชนทุนที่เป็นเงินและไม่ใช่เงิน

              9. มีการจัดสวัสดิการชุมชนทำให้ทุกคนได้รับการดูแลโดยทั่วถึงกัน

            10.หมู่บ้านมีการจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป

 

ผลที่เกิดต่อชุมชน

1.ด้านสังคม

กระตุ้นให้ชุมชนมีความตระหนักในการเอื้อเฟื้อแบ่งปันซึ่งกันและกันในหมู่บ้านและชุมชนและเน้นความสำคัญในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลังและองค์ความรู้ที่เป็นทุนเดิมของชุมชนมาใช้ในชีวิตประจําวัน

          2.ด้านเศรษฐกิจ

ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอาชีพของชุมชนที่หลากหลายทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นโดยชุมชนสามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สินค้าการเกษตร เพื่อยกระดับและพัฒนาเพิ่มมูลค่าและเพิ่มช่องการการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิตและเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

3.ด้านสิ่งแวดล้อม

กระตุ้นและปลูกจิตสานึกในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนร่วมกันอนุรักษ์และรักษาไว้เพื่อเป็นทุนให้กับชุมชนและลูกหลาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view